ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
นายกฯ แจกแว่นสายตาเด็กๆ เร่งแจกกระจายทั่วปท.
29 ธ.ค. 2564

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เยี่ยมชมนิทรรศการเด็กไทยสายตาดีวิถีชีวิตใหม่ สู่การเรียนรู้ที่ดีกว่า     พร้อมมอบแว่นสายตาให้ตัวแทนเด็กนักเรียน ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี

          นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การขับเคลื่อนโครงการเด็กไทยสายตาดี เป็นข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและภาคเอกชนในปีที่ผ่านมา มีการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเฝ้าระวังสุขภาพสายตานักเรียนตามแนววิถีชีวิตใหม่ โดยราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ กรมอนามัย โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นพี่เลี้ยงฝึกอบรม และตรวจสอบยืนยันความถูกต้อง ในการส่งตัดแว่นสายตา ในปีนี้จะมีการขยายผลอบรมบุคลากรสาธารณสุขทุกจังหวัด เพื่อให้ทำหน้าที่อบรม ครูประจำชั้น ให้มีความรู้ ความสามารถ ในการตรวจคัดกรองสายตาเบื้องต้นในงานอนามัยโรงเรียน รวมถึงดำเนินการคัดกรองสายตานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกคน ในโรงเรียนทุกสังกัด ตลอดจนนักเรียนชั้นอื่น กรณีสายตาผิดปกติ สามารถรับการตรวจคัดกรอง ตรวจวินิจฉัย และรับแว่นสายตาได้ด้วย

          ทางด้าน นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ผลการตรวจคัดกรองสายตาและรับแว่นสายตานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โครงการเด็กไทยสายตาดี ในปี 2564 พบว่า มีนักเรียนได้รับการคัดกรอง 233,639 คน จากจำนวนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งหมด ที่จะได้รับการคัดกรองสายตา กว่า 700,000 คน คิดเป็นร้อยละ 32 นักเรียนได้รับการตรวจคัดกรองพบสายตาผิดปกติ จำนวน 5,722 คน คิดเป็นร้อยละ 2.4 นักเรียนได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยจักษุแพทย์ และมีนักเรียนได้รับแว่นสายตาจากภาคเอกชน จำนวน 2,655 คน ดังนั้น ในปี 2565 กระทรวงสาธารณสุขมุ่งหวังขยายผลให้เด็กนักเรียนได้รับ แว่นสายตาอย่างทั่วถึงทุกจังหวัด ภายใต้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายแว่นสายตาจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) โดยร่วมรณรงค์พร้อมกันทั่วประเทศ ในโอกาสวันเด็กแห่งชาติเดือนมกราคม 2565 ที่จะถึงนี้

          ทางด้าน ศาตราจารย์วุฒิคุณนายแพทย์ศักดิ์ชัย วงศ์กิตติรักษ์ ประธานวิชาการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การใช้ชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และนับวันเป็นที่นิยมในเด็กอายุน้อยลงทุกวัน เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อปัญหาสายตาอย่างมาก ปัจจุบันพบนักเรียนสายตาสั้นมากขึ้น สูงถึง 10–20 เปอร์เซ็นต์ การเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญ ส่งผลกระทบทำให้มีการเพ่งสายตามากหรือเพ่งค้าง มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้โดยตรง ขณะนี้มีการเรียนออนไลน์มากขึ้น ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน การเล่นโทรศัพท์มือถือของเด็ก มักจะอยู่ในห้องแคบไม่ไปเล่นในที่กลางแจ้ง ไม่ทำกิจกรรมใด ๆ ส่งผลกระทบทำให้สายตาสั้น ดังนั้น จึงขอแนะนำให้ปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ 20–20–20 กล่าวคือ พักสายตาทุก 20 นาที เป็นระยะเวลานาน 20 วินาที และมองไกลระยะ 6 เมตร หรือ 20 ฟุต ทั้งนี้ จุดเน้นการปฏิบัติสำหรับเด็กนักเรียน ดังนี้ 1) เด็กนักเรียนควรมีการพักสายตาทุก 50 นาที–1 ชั่วโมง นาน 5–10 นาที เพื่อผ่อนคลายการเพ่งสายตา 2) เด็กมีทัศนคติต่อการใช้สื่อออนไลน์ 3) ควรกำหนดกติกา การใช้โทรศัพท์มือถืออย่างเหมาะสม 4) เล่นหรือใช้โทรศัพท์มือถือในห้องที่มีแสงสว่างเพียงพอ และ 5) ส่งเสริมให้ทำกิจกรรมทางกายนอกห้องเรียนหรือกลางแจ้ง จะช่วยลดปัญหาสายตาด้วย

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...