ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
กรมชลฯ แนวทางลดผลกระทบน้ำท่วมอ่างทอง
10 ต.ค. 2564

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นาย ประยูร เย็นใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชลประทาน (ด้านจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา) นายสุรัช ธนูศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่10 นายพงษ์ศักดิ์ อัครมณี ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 12 นายสมชายธนินทร์ พ่วงสุวรรณ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอ่างทอง และผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการน้ำพื้นที่จังหวัดอ่างทอง เพื่อหาแนวทางบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบด้านท้ายน้ำเจ้าพระยา

กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาโดยการผันน้ำเข้าระบบชลประทานฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกรวมอัตรา 362 ลบ.ม./วินาที ซึ่งพื้นที่จังหวัดอ่างทอง ฝั่งตะวันตกได้รับน้ำผ่านแม่น้ำน้อย ในอัตรา 160 ลบ.ม./วินาที และตัดยอดน้ำเข้าทุ่งรับน้ำเข้าทุ่งผักไผ่ และทุ่งเจ้าเจ็ด ส่วนฝั่งตะวันออกได้รับน้ำผ่านคลองชัยนาท - อยุธยา ในอัตรา 30 ลบ.ม./วินาที เพื่อลดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และลดผลกระทบพื้นที่ริมตลิ่งโดยเร็วที่สุด

ปัจจุบัน จังหวัดอ่างทองมีพื้นที่ได้รับผลกระทบใน 3 อำเภอ ได้แก่ ต.โผงเผง ต.บางปลากด อ.ป่าโมก ต.จำปลาหล่อ ต.โพสะ อ.เมือง ต.จระเข้ร้อง อ.ไชโย โครงการชลประทานอ่างทองได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 12 จุด เพื่อช่วยระบายออกจากพื้นที่ท่วมขัง ภาพรวมสถานการณ์น้ำลดลงต่อเนื่องอย่างช้าๆ หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มในพื้นที่ สถานการณ์จะกลับเข้าภาวะปกติในเร็ววัน เมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว จะเร่งสำรวจความเสียหายของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งสำรวจระบบชลประทาน เพื่อปรับปรุงให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ

ทั้งนี้ รองอธิบดีกรมชลประทาน ได้กำชับให้โครงการชลประทานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องร่วมกันบริหารจัดการน้ำโดยพิจารณาจากปริมาณน้ำ ช่วงเวลา ผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชน ความมั่นคงของอาคารชลประทาน และระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมพิจารณาพื้นที่เก็บกักน้ำตามธรรมชาติ ที่สามารถเก็บน้ำได้ เพื่อตัดยอดน้ำหลากควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งหน้าต่อไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...