ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ข่าวเด่น / ไฮไลท์ ย้อนกลับ
เจ๋งARDAผลิตเครื่องสแกนทุเรียนเห็นละเอียดอ่อน—แก่-มีหนอน
18 พ.ค. 2568

น.ส.ศิริกร วิวรวงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (ARDA)เปิดเผยว่า ปัจจุบันถึงแม้ประเทศไทยจะยังเป็น "ราชาแห่งทุเรียน" ส่งออกมากกว่า 800,000 ตันต่อปี สร้างรายได้กว่า 150,000 ล้านบาท แต่คำถามสำคัญคือ "เราจะรักษาตำแหน่งนี้ได้นานแค่ไหน?" เมื่อปัญหาทุเรียนอ่อน หนอนเจาะเมล็ดและเนื้อตกเกรด ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค โดยเฉพาะตลาดใหญ่อย่างจีน ARDA จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยให้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อดำเนินโครงการ "การออกแบบเครื่องคัดแยกความอ่อน-แก่ และหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนด้วยเทคนิค CT-Scan ร่วมกับการประมวลผลผ่านโครงข่ายประสาทเทียมเชิงลึก โดยมี รศ.ดร.ชาญชัยทองโสภา เป็นหัวหน้าโครงการฯ  ด้วยการนำเครื่อง CT-Scan ตกรุ่นปลดระวางจากบริษัทเอกชนที่ให้บริการด้านเครื่องมือแพทย์มาพัฒนาเป็นเครื่องต้นแบบสำหรับตรวจสอบความอ่อน - แก่ และหนอนในทุเรียนได้อย่างชัดเจนด้วยเทคนิค CT-Scar ที่สามารถสแกนภาพทุเรียนด้วยความละเอียดสูง   ปัจจุบันคณะวิจัยฯ ได้นำเครื่องดังกล่าวมาติดตั้งและนำร่องใช้เป็นครั้งแรกในลังทุเรียนบริษัท เอ็นทีเอฟ อินเตอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ต. สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

ด้าน รศ. ดร.ชาญชัย ทองโสภา หัวหน้าโครงการวิจัยฯ เปิดเผยว่า  เครื่องตรวจ CT-Scan ทุเรียนเกิดขึ้นจากสมมติฐานทางการแพทย์ที่ใช้เครื่องดังกล่าวสแกนร่างกายมนุษย์ที่มีความซับซ้อน คาดว่าน่าจะใช้กับทุเรียนได้เช่นกัน ทางคณะผู้วิจัยฯ จึงได้นำเครื่อง CT-Scan ตกรุ่นปลดระวางจากบริษัทเอกชนที่ให้บริการด้านเครื่องมือแพทย์ มาพัฒนาเป็นเครื่องต้นแบบ และนำผลทุเรียนเข้าไปทดลอง  พบว่ามองเห็นความอ่อน-แก่ และหนอนในทุเรียนได้อย่างชัดเจน โดยเครื่องจะสแกนภาพออกมาหลายเฟรม ในแต่ละเฟรมจะแสดงค่า CT-Numbers บ่งบอกถึงความหนาแน่นของวัตถุ โดยเปรียบเทียบกับความหนาแน่นของน้ำ ส่วนไหนที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำภาพจะเป็นสีขาว ส่วนที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ เช่น อากาศ จะมีภาพเป็นสีดำ ซึ่งทุเรียนอ่อนจะมีน้ำเยอะกว่าทุเรียนแก่

“ปัจจุบันเครื่องต้นแบบ CT-Scan สามารถสแกนผลทุเรียนออกมาเป็นภาพที่มีความละเอียดสูง ด้วยระยะห่าง 1 ซม./เฟรม หมายความว่าหากผลทุเรียนยาว 30 ซม. เมื่อผ่านเครื่องสแกนจะได้ภาพออกมา 30 เฟรม ในแต่ละเฟรมห่างกัน 1 ซม. ครอบคลุมพื้นที่ตลอดผล  จากนั้นจะนำค่า CT-Numbers ที่ได้ในแต่ละเฟรมมาประมวลผลด้วย AI ซึ่งถูกเขียนและพัฒนาขึ้นใหม่โดยเฉพาะ ให้สามารถจำแนกลักษณะความสุกและตรวจหาหนอนภายในลูกทุเรียนได้อย่างแม่นยำ เป็นประโยชน์ต่อการคำนวณระยะเวลาขนส่งในการส่งออกให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ อีกทั้งการตรวจสอบยังใช้เวลาเพียง 3 วินาทีต่อลูก หรือ 1,200 ลูก/ชั่วโมง และไม่ว่าจะวางผลทุเรียนเข้าสู่เครื่องสแกนลักษณะใด ระบบดังกล่าวก็สามารถสแกนได้ ซึ่งเป็นการช่วยลดเวลาและลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการคัดแยกทุเรียนให้กับล้ง  นอกจากนี้ยังสามารถใช้กับผลไม้ชนิดอื่นได้แทบทุกชนิด ไม่เฉพาะกับแค่ทุเรียนเท่านั้น

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 พฤษภาคม 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
21 เม.ย. 2568
“กีฬา ... กีฬา ... เป็นยาวิเศษ” ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ที่นำมาร้องกันในสมัยก่อน หรืออาจจะร่วมถึงในยุคสมัยนี้ด้วยก็คงไม่ผิด และแน่นอนความหมายของนั้นก็คือ การเล่นกีฬา การออกกำลังกายนั้น มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเปรียบเสมือนเกราะป้องกันโรคภัยของเรานั่นเอ...