ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์ ย้อนกลับ
พระราชกรณิยกิจพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ด้านการสืบศาสนา
10 พ.ค. 2559

                    แต่โบราณมา พุทธศาสนิกชนชาวไทย ถือว่าลังกา คือแหล่งความรู้และแบบอย่างทางพระพุทธศาสนา เพราะชาวไทย รับพระพระพุทธศาสนาเถรวาทมาจากลังกา ดังที่เรียกกันว่า "พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์"หรือ พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกา  ฉะนั้นพระสงฆ์ไทยในอดีตจึงนิยมไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกา จนเกิดเป็นประเพณีนิยมไปสืบพระศาสนาที่ลังกา  อันหมายถึงการไปศึกษาพระพุทธศาสนาและลัทธิพิธีทางพระพุทธศาสนาที่ลังกา  เพื่อนำมาประพฤติปฏิบัติและเผยแพร่ให้เจริญรุ่งเรืองในบ้านเมืองของตน  ซึ่งนับว่าเป็นบุญกุศลเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาทางหนึ่งตั้งแต่ยุคสุโขทัยเป็นต้นมาคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวไทยจึงมีความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนากับลังกาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องมามิได้ขาด จนกระทั่งถึงยุครัตนโกสินทร์ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการส่งสมณทูตไปเจริญศาสนไมตรีกับลังกา ครั้งแรกในรัชกาลที่ 2 มาในรัชกาลที่ 3 พระสงฆ์และคฤหัสถ์ชาวลังกาได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับคณะสงฆ์ไทยมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมอบหมายให้ทูลกระหม่อมพระ  ขณะครองวัดบวรนิเวศวิหารรับหน้าที่รับรองดูแลคณะสงฆ์ลังกาในทางราชการเสมอมาเพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรวมทั้งพระภิกษุ ศิษย์หลวงที่วัดบวรนิเวศวิหารโดยมากพูดภาษามคธและภาษาอังกฤษได้ จนทางวัดบวรนิเวศวิหารต้องจัดเสนาสนะไว้สำหรับรับรองคณะสงฆ์ลังกาโดยเฉพาะ  เรียกว่าคณะลังกา

                    ในรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดให้ทูลกระหม่อมจัด สมณทูตไปลังกาถึง 2 ครั้ง  มาในรัชกาลที่ 4 ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้จัดสมาทูตไปลังกาอีกครั้งหนึ่งซึ่งนับเป็นสมณฑูตเป็นทางราชการคณะสุดท้ายของไทยที่ไปเจริญศาสนไมตรีกับลังกา

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...