ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
ยืนยัน ม้าแข่งปากช่องตาย 47 ตัว ป่วย“กาฬโรคในม้า” ไม่ใช่ติดเชื้อโควิด-19
28 มี.ค. 2563

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ยืนยัน สาเหตุม้าแข่งตาย 47 ตัว เพราะป่วยเป็นโรคกาฬโรคในม้า พร้อมสั่งแยกม้าป่วยจากม้าร่วมฝูง ระงับการเคลื่อนย้ายม้าในรัศมี 150 กิโลเมตร

(28 มี.ค.2563) จากเหตุการณ์ม้าแข่งทยอยป่วยและตายโดยไม่ทราบสาเหตุรวม 47 ตัว จากคอกม้าต่างๆ ใน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา สร้างความวิตกกังวลให้ชาวบ้านในพื้นที่ ล่าสุด นายสัตวแพทย์สรวิศ​ ธานีโต​ อธิบดีกรมปศุสัตว์​ได้ส่งชุดปฏิบัติการลงพื้นที่สอบสวนและควบคุมโรคพบม้าป่วย จำนวน​ 11​ คอก​ มีอาการไข้สูงมากกว่า​ 39 องศา​ ซึม​ ไม่กินอาหาร​ มีน้ำมูก​ น้ำตาไหล​ หายใจลำบาก​ เลือดออกบริเวณเยื้อบุตา​ เหงือกซีดและเหลือง​ ร่างกายอ่อนแรง​ หน้าบวม​ ตายเฉียบพัน​ และได้เก็บตัวอย่างสัตว์ป่วยส่งตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ

นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวว่า จากข้อมูลทางระบาดวิทยาอาการทางคลินิก และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติได้ผลสรุปว่า เป็นโรคกาฬโรคในม้า (African Horse Sickness) ยืนยันว่า การระบาดของโรคในม้าที่เกิดขึ้นไม่ใช่โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน​ รวมถึงไม่ใช่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ​(covid-19) ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก

ขณะที่สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือขอความร่วมมือไปยัง ประธานชมรม / สโมสร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้หลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายม้าเข้าออกพื้นที่เสี่ยงเป็นการชั่วคราวอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโรค และขอให้ติดตามประกาศจากกรมปศุสัตว์หรือหน่วยงานราชการที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง

ด้านนายสัตวแพทย์ พศวีร์ สมใจ ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า โรคแอฟริกันฮอสซิกเนส (African horse sickness) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงที่เกิดจากไวรัสม้าอาฟริกา จะมีผลต่อม้าและลาเท่านั้น โดยมีแมลงเป็นพาหะนำเชื้อ ทำให้ม้าที่ป่วยจะมีลักษณะการตายโดยเฉียบพลันภายใน 2-3 ชั่วโมง เนื่องจากเชื้อโรคนี้จะเข้าไปทำลายระบบหายใจของม้า ซึ่งม้าที่ตายขณะนี้ได้ทำการฝังกลบทั้งหมดทุกตัวแล้ว เพื่อไม่ให้แมลงที่เป็นพาหะนำโรคไปแพร่สู่ม้าตัวอื่นอีก

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...