ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
ทีมแฮมเบิร์กนวัตกรรมสตรีทฟู้ดคว้าแชมป์แคมป์เด็กหัวการค้าครั้งที่ 6 ม.หอการค้าไทย
28 ม.ค. 2563

 

              ปัจจุบันรูปแบบการทำธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมเป็นอย่างมาก มีการใช้นวัตกรรมเข้ามาเสริมอย่างมากมาย ทำให้การเจริญเติบโตทางธุรกิจนั้นเริ่มมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น สามารถสร้างนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและนักเรียนระดับสายวิชาชีพให้เป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวทางธุรกิจได้อย่างไม่ยากมากนัก จึงเป็นแรงผลักดันให้นักเรียนนักศึกษาเตรียมพร้อมมุ่งสู่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ในการสร้างตราสินค้า สร้างธุรกิจแนวใหม่ได้ในอนาคต วิทยาลัยผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยร่วมกับหอการค้าไทยและมูลนิธิสิริวัฒนภักดี จัดโครงการ “แคมป์ผู้ประกอบการรุ่นเล็ก...เด็กหัวการค้า” ปีที่6 มอบทุนการศึกษากว่า 20 ล้านบาท เพื่อทำตามความฝันของเยาวชนที่จะสร้างความสำเร็จให้กับอาชีพธุรกิจของตนเอง

               ล่าสุดปีพ.ศ.2563 ครั้งที่6นี้ ทีมแฮมเบิร์กสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ1 จาก“แคมป์ผู้ประกอบการรุ่นเล็ก...เด็กหัวการค้า” ปีที่6 ประกอบด้วยนักเรียน ได้แก่ นาย ปัณณธร ผิรังคะเปาระ (หัวหน้าทีม) อายุ 18 ปี โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี , น.ส. รุ่งทิวา โชคลาภ อายุ 18 ปี โรงเรียนจังหวัดสมุทรปราการ , นาย มูหามะซูเบร์ เดิง อายุ 18 ปี มาจากโรงเรียนรอมาเนีย , น.ส. ณัฐกมล เตียวอนันต์ อายุ 18 ปี โรงเรียนพัทลุง , นาย มูฮัมหมัดอัซรอฟ จูมา อายุ 16 ปี โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา , นาย ปัณณวิชญ์ โคตรสมบัติ อายุ 18 ปี โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 และ นาย อภิสิทธิ์ เกิดวงษ์ อายุ 17 ปี โรงเรียนวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร

                นาย ปัณณธร ผิรังคะเปาระ (น้องเจได) อายุ 18 ปี มาจากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จ.สุราษฏร์ธานี หัวหน้าทีมแฮมเบิร์ก เล่าว่า “ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบคุณทุกๆฝ่ายที่จัดงานนี้ขึ้นมาครับ ตื่นเต้นมากครับสำหรับแชมป์ที่ได้มา แฮมเบิร์กมาจากนวัตกรรมที่ต้องการอะไรแปลกใหม่และแตกต่างจากสตรีทฟู้ดทั่วไปเราก็เลยจับ แฮมเบิร์ก มาต่อยอดเพราะเป็นอาหารที่ทานง่ายและไม่ค่อยมีใครนึกถึงก็เลยคิดว่าตรงนี้น่าจะสร้างความแตกต่างให้กับตัวโปรเจคนี้ได้เป็นอย่างดี จากการที่เพื่อนในทีมส่วนใหญ่ก็เป็นชาวมุสลิมมันจึงทำให้เรามีความคิดที่จะทำผลิตภัณฑ์แฮมเบิร์กโดยใช้ส่วนประกอบเป็นเนื้อหมูในตอนแรกเปลี่ยนมาเป็นเนื้อไก่เพราะถ้าเรายังใช้เนื้อหมูมันจะส่งผลให้คนบางกลุ่มไม่สามารถที่จะทานได้พวกเราก็เลยเลือกที่จะทำเป็นเนื้อไก่แทนเพราะเราเห็นถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ของเรา ด้านแพ็คเกจจิ้งนั้นเราได้เห็นจากในการ์ตูนเรื่องหนึ่งโดยเขาทำแพ็คเกจจิ้งที่ใช้สำหรับใส่เบอร์เกอร์เป็นรูปแบบคล้าย ๆ กับที่ใส่เครปและเราก็เห็นว่ามันเป็นแพ็คเกจจิ้งที่ใช้งานง่ายและเหมาะกับอาหารประเภทสตรีทฟู้ดเพราะมันสามารถที่จะถือและเดินทานไปได้เลย  แพ็คเกจจิ้งของเรานั้นสามารถใช้งานได้มาประกอบเป็นรูปเป็นร่างและนำมาใช้งานได้จริง ๆ อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งตัวแพ็คเกจจิ้งของเรานั้นมาจากจานกระดาษขนาด 9 นิ้วแล้วนำมาตัดครึ่ง และตัวจานกระดาษมันจะมีจีบรอบนอกของจานอยู่แล้วเราก็จะพับแต่ละข้างเข้าหากันจะทำให้ข้างหนึ่งนั้นเกิดรูและมันจะกลายเป็นรูปทรงเหมือนที่ใส่เครป”

           น.ส. รุ่งทิวา โชคลาภ (น้องนก) อายุ 18 ปี โรงเรียนสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ทีมแฮมเบิร์ก เล่าว่า “ดีใจที่ได้แชมป์ครั้งนี้ ด้วยความกดดันของเวลาและข้อจำกัดของวัตถุดิบ ทำให้ทีมเราตื่นเต้นตลอดเวลา ซึ่งการแก้ไขปัญหาของเราก็จะมีการเรียกสมาชิกในทีมมาคุยกันและหารือกันว่าจะทำอะไรต่อไป เน้นการทำงานเป็นทีม จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ทีมเรา มีการออกแบบน้องกุ๊กไก่เป็นโลโก้ของผลิตภัณฑ์ที่พวกเราคิดมาว่ามันน่าจะสร้างความแตกต่าง เพราะแพ็คเกจจิ้งที่เราใช้นั้นมันแตกต่างจากคนอื่นอยู่แล้วและถ้าเราวาดรูปเข้าไปมันจะทำให้แพ็คเกจจิ้งเราดูน่ารักมากขึ้นกว่าเดิม โดยน้องกุ๊กไก่จะเป็นรูปไก่ที่อยู่ในแพ็คเกจจิ้งของพวกเรา เหตุผลที่เลือกเพราะพวกเราขายผลิตภัณฑ์เป็นไก่ เราจึงเลือกที่จะใช้น้องกุ๊กไก่เป็นโลโก้ของเรา อีกทั้งยังเป็นในเรื่องของการหมักเนื้อที่กรรมการเห็นและมีการชมว่าเป็นวิธีการหมักเนื้อที่ดี โดยสูตรที่เราใช้นั้นก็มาจากการที่เราจำมาจากคุณแม่ เพราะโดยส่วนตัวชอบทำอาหารและเคยช่วยคุณแม่ทำ จึงนำมาใประยุกต์ช้ในการแข่งขันครั้งนี้ ทำให้คณะกรรมการตัดสินหลายท่านชื่นชอบ ทีมเราได้รับรางวัลนี้มาเพราะมันมาจากความพยายามของพวกเราทุกคนถึงแม้ว่าพวกเราจะไม่ได้เก่งมาก แต่พวกเราก็มีความพยายามที่จะทำงานของเราให้มันออกมาสำเร็จและลุล่วงไปได้ด้วยดี และอาจจะเป็นเพราะความคิดเห็นของเพื่อน ๆ แต่ละคนที่อาจจะไม่ตรงกันบ้างแต่สุดท้ายแล้วการรวมความคิดเห็นของแต่ละคนมันจึงทำให้เป็นสิ่งที่พาเรามาชนะ”

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...