ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
การปลูกสับปะรดภูแลกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทีพีไอ
02 ม.ค. 2563

สับปะรดพันธุ์ภูแล เป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมปลูกในจังหวัดเชียงราย ด้วยคุณสมบัติที่มีผลเล็ก กะทัดรัด รสชาดหวานกรอบ จีงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอย่างมาก การปลูกสบปะรดภูแลให้ได้คุณภาพดี ปราศจากสารเคมี ด้วยการปลูกแบบอินทรีย์นั้น ยิ่งเป็นที่ต้องการของตลาด และเพิ่มมูลค่าของผลผลิต

คุณชาติชาย โป่งคำ เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดภูแล ตำบลบ้านดู่ จังหวัดเชียงราย ผู้ปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกสับปะรดภูแลโดยใช้สารเคมีมาเป็นการปลูกแบบอินทรีย์ด้วยปุ๋ยออแกนิคตราทีพีไอ

“การใช้สารเคมีจะทำให้สุขภาพเสีย ทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค ทำให้ดินสื่อมโทรม ต้นทุนการผลิตจะสูง เพราะว่า การใช้สารเคมี หรือปู่ยเคมีราคาจะสูง”

โดยคุณชาติชายได้มีวิธีการในการใช้ปุ๋ยออแกนิคตราทีพีไอดังนี้ “สวนสับปะรดภูแลของผม จะใช้ปุ๋ยทีพีไอฮูมิค เป็นสูตรพ่นทางดิน อัตราส่วนผสม 1:200 คือ ปุ๋ย 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน หรือ 15 วัน และอีกสูตรหนึ่งที่ผมใช้ คือ โกรออแกนิค ฉีดพ่นทางใบและลำต้น อัตราส่วนการใช้ 1 ลิตร ต่อน้ำ 500 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน หรือ 15 วัน”

การใช้ปุ๋ยออแกนิคตราทีพีไอ ทำให้เกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ต้นสับปะรดมีความแข็งแรง อีกทั้งยังไม่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชและแมลง จึงทำให้สุขภาพดีขึ้นและเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ

คุณชาติชาย กล่าวอีกว่า “ปุ๋ยอินทรีย์จะทำให้หน้าดินร่วนซุย ต้นแข็งแรง จากการใช้ปุ๋ยเคมีของผม พบว่าที่ผมใช้ปีแรก ต้นสับปะรดภูแล ต้นจะเล็ก แคระแกน ใบประมาณ 2 นิ้ว ตั้งแต่ผมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทีพีไอ ใบสับปะรดจะใหญ่ ประมาณ 3-4 นิ้ว ปุ๋ยเคมีที่ใช้ต่อไร่ ต้นทุนอยู่ที่ ประมาณ 700-800 บาท ถ้าเป็นปุ๋ยอินทรีย์ของทีพีไอ ผมใช้ต่อไร่ ต้นทุนอยู่ที่ 100-300 บาท แลผลผลิตที่ได้ของเคมี ปีแรกผมได้ ประมาณ 1,300 กิโล หรือ 1.3 ตัน แต่เมื่อผมมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของทีพีไอ ผลผลิตที่ได้ คือ 2,500 กิโล หรือ 2.5 ตัน และอีกอย่างหนึ่ง ผลตอบรับจากผู้บริโภค คือ คนที่กินสับปะรดภูแล ผลตอบรับจะดีมาก ไร่สับปะรดอินทรีย์ของผมได้ไปถึงต่างประเทศ คือ ญี่ปุ่นและฝรั่งเศส”

ปุ๋ยออแกนิคตราทีพีไอ ได้พิสูจน์จากผู้ใช้จริง แปลว่าได้ผลจริง และนี่คือคำยืนยัน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...