ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
มาตรฐานแรงงานไทยกับการรับรองอนุสัญญาILO
26 พ.ย. 2562

เมื่อเร็วๆนี้ทางมูลนิธินิคม จันทรวิทุร ร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศและสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานประจำปี2562 เรื่อง100ปีองค์การแรงงานระหว่างประเทศกับมาตรฐานแรงงานสากล และอนาคตแรงงาน ผู้ประกอบการและการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะนำเสนอประเทศไทยกับการรับรองอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศและความท้าทายในอนาคตเกี่ยวกับแรงงาน โดย นายโกวิทย์ บุรพธานินทร์ กรรมการมูลนิธินิคม จันทรวิทุร

ประเทศไทยกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ มองประเด็นสำคัญไปที่การรับรองอนุสัญญาแรงงานของไอโลฉบับใดบ้าง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าประเทศนั้นๆมีมาตรฐานแรงงานดีมากน้อยแค่ไหน เพราะเป็นมาตรฐานที่พึงปฏิบัติต่อลูกจ้างหรือคนงานตามหลักมนุษยธรรม ประเทศไทยเองไม่เคยปฏิเสธ เพียงแต่ไม่ขยายให้กับแรงงานทุกกลุ่มการเรียกร้องที่มักเกิดขึ้นประจำปี นั่นคือ2อนุสัญญา ได้แก่ อนุสัญญาฉบับ87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม และอนุสัญญาฉบับ98 สิทธิว่าด้วยการจัดตั้งและการเจรจาต่อรอง ซึ่งแรงงานไทยได้เรียกร้องมานาน เป็นประเด็นที่มีการยื่นข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติทุกปี แต่รัฐบาลไม่เคยสนใจเลย

สำหรับอนุสัญญาแรงงานหลายเรื่องไทยกลับให้สัตยาบัน และถือเป็นเรื่องที่ดีในขณะเดียวกัน อย่างเช่น ไปเน้นในเรื่องการคุ้มครองทางสังคม การคุ้มครองแรงงาน อาทิระบบการรักษาพยาบาล30บาท ถือเป็นหลักการใช้กับทุกคนในประเทศ ระบบประกันสังคมแม้ยังไม่ทั่วถึงแต่สอดคล้องกับมาตรฐาน และมีการส่งเสริมให้เกิดกลไกเสริมอีกหลายประการ ในบางเรื่อง อาทิ มาตรา15,16ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานว่าด้วยความเท่าเทียมกันและการไม่ล่วงละเมิดทางเพศ ถือเป็นความก้าวหน้าทางกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ล่าสุดในเรื่องการประมง ไทยก็รับรองอนุสัญญา188ว่าด้วยการทำงานในภาคประมง นับเป็นลำดับต้นๆของโลกเลยทีเดียว

ในทุกๆปีไทยจ่ายค่าบำรุงองค์การจำนวนไม่น้อย แต่เรายังใช้ประโยชน์จากองค์กรอย่างเต็มที่ ปัจจุบันประเทศไทยให้การรับรองอนุสัญญาน้อยอยู่เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เฉลี่ย22ฉบับ กลุ่มประเทศโออีซีดี เฉลี่ย 63ฉบับ กลุ่มประเทศBRICS เฉลี่ย 50ฉบับ ส่วนกลุ่มประเทศอาเซียน เฉลี่ย17.6ฉบับ ถ้าทั่วโลกเฉลี่ย 42ฉบับ ส่วนประเทศไทยเองได้รับรองอนุสัญญาไปเพียง19ฉบับ

สิ่งที่เป็นความท้าทายในอนาคตก็คือลักษณะงานที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ เทคโนโลยี จะส่งผลกระทบกับแรงงานตั้งแต่ระดับไร้ฝีมือ กึ่งฝีมือ พนักงานสำนักงาน ขณะนี้มีการนำมาแทนแรงงานคนในหลายอุตสาหกรรมแล้ว เช่น สาขายานยนต์และอะไหล่ยนต์ จะมีโรบอท หุ่นยนต์ การผลิตที่ใช้วัสดุน้ำหนักเบา การขับเคลื่อนโดยไร้คนขับ และยานยนต์ไฟฟ้า สาขาอิเลคทรอนิคส์ จะมีโรบอท 3D Printing และIOT งานบางสาขาอาชีพ ทำให้โครงสร้างการทำงานเปลี่ยน สถานที่ทำงานอยู่ที่ใดก็ได้ ชั่วโมงทำงานปกติอาจเปลี่ยนไป กระบวนการผลิตมีการปรับตัวเพื่อเกิดความคล่องตัว การบริหาร กำกับ และประเมินผลงาน จะถูกปรับเปลี่ยนให้บริการที่เน้นความต้องการของผู้บริโภค

ภาวะที่เกิดกรเปลี่ยนแปลงข้างต้น ทำให้หลายประเทศประสบปัญหาขาดแคลนกำลังคนที่จะเข้าไปรองรับ รูปแบบ และวิธีการบริหารจัดการใหม่ๆ ส่งผลให้บางประเทศมีการชลอตัวทางเศรษฐกิจในขณะที่ประเทศใดมีประชากรวัย

ทำงานปรับตัวได้ทันก็จะพบโอกาสและการขยายตัวของความต้องการทางด้านแรงงาน กลุ่มแรงงานที่ได้ประโยชน์เต็มที่คือผู้มีการศึกษาหรือฝึกอบรมในส่วนที่ตลาดแรงงานต้องการ

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...