ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
แบน 3 สารเคมีการเกษตรบานปลาย เอกชนเล็งฟ้อง กรมวิชาการเกษตร ระงับนำเข้า-ส่งออก
05 พ.ย. 2562

ทั้งนี้ เมื่อ วันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลกระทบจากการแบน 3 สารเคมี ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส ไกลโฟเซส ที่จะมีผลในวันที่  1 ธ.ค.2562 โดยให้ นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน โดยให้พิจารณาว่าหากต้องแบน 3 สาร ตามมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย จะมีผู้ที่ได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด และในวันที่ 6 พ.ย.2562 ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแบนสารเคมี อาทิ เกษตรกร ผู้ประกอบการเอกชนที่นำเข้าผลผลิตด้านการเกษตร ผู้ผลิตอาหารสัตว์ เป็นต้น จะเข้าหารือถึงมาตรการรับมือ

นายเฉลิมชัย กล่างอีกว่า ส่วนตัวได้สอบถามไปทุกสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการแบนสารไปบ้างแล้ว แต่ต้องให้ปลัดกระทรวงเกษตร ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาผลกระทบ หารือกับผู้ที่ได้รับผลกระทบและประเมินสถานการณ์ แล้วนำรายงานต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต่อไป”

อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า 3 สมาคมเกี่ยวกับการทำเกษตร ได้แก่สมาคมอารักขาพืชไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร และสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย ได้หารือเพื่อร่วมกันทำหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันที่ 6 พ.ย.นี้ เพื่อขอให้นายกฯ พิจารณาปลดล็อคการระงับทะเบียน วัตถุอันตราย สารเคมี ยาฆ่าแมลง หลังกรมวิชาการเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ของกรมวิชาการเกษตร ไม่อนุญาตให้มีการส่งออกหรือ นำเข้าสารเคมี ซึ่งทางกรมวิชาการเกษตร อ้างว่า น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรช่วยกระทรวงเกษตรฯ ได้สั่งให้ระงับไว้ ซึ่งการระงับไม่ใช่เพียง 3 สารที่เดือดร้อน แต่สารเคมีอื่นๆ ก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้

ทั้งนี้ การดำเนินการระงับการนำเข้ส่งออกดังกล่าว ถือเป็นความผิดมาตรา 157 ในเรื่องการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งเรื่องนี้ 3 สมาคมคงต้องยื่นฟ้องกรมวิชาการเกษตร ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทำให้เอกชนเสียหาย โดยการสั่งแบน 3 สารพร้อมกับการระงับทะเบียนสารเคมี ส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถส่งออกสารเคมี ไม่สามารถระบายสต๊อกไปยังประเทศต้นทาง ประเทศผู้ผลิตได้ สารเคมี 20,000 ตันจะต้องถูกทำลายในไทย

นอกจากนี้ เมื่อทะเบียนสารเคมีถูกระงับ ไม่ได้เดือนร้อนแค่ ผู้ใช้ 3 สาร ยังมีผู้ประกอบการที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบเพื่อมาทำอาหารสัตว์ เคมีด้านการเกษตรไม่เพียงพอ อาทิ ใกล้ฤดูกาลปลูกข้าวโพด ยาคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนหว่าน เพื่อป้องกันศัตรูพืชไม่มี ทุกอย่างชะงักหมด ทั้งส่งออกและนำเข้า

ด้าน นายกิตติ ชุณหวงศ์ นายกสมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ กังวลว่าปี 2563 อุตสาหกรรมอ้อยจะสูญเม็ดเงินมากกว่า 3 แสนล้านบาท จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจาก เหตุแบนสารเคมีเกษตร กำลังการผลิตลด สมาคมฯ ขอร้องรัฐบาลควรช่วยภาคเกษตรของไทย เหมือนรัฐบาลต่างชาติ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และบราซิลที่ออกมาปกป้องสิทธิ์สินค้าเกษตร และเกษตรกรของตนเอง แต่รัฐบาลไทยกลับไม่ปกป้องสินค้าเกษตรไทย เพราะอ้อยที่ทำเงินเข้าประเทศจำนวนมาก

การมีมติแบนพาราควอต จึงส่งผลโดยตรงต่อภาคอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ในพื้นที่กว่า 10 ล้านไร่ ทำให้เกษตรกรไร่อ้อยแบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้รับผลกระทบ ผลผลิตอ้อยรวมต่อปีประมาณ 130 ล้านต้น ถ้าคิดง่ายๆ ว่า 10 ตัน ผลผลิตหายไป 1 ตัน เท่ากับว่าผลผลิตหายแล้ว 13 ล้านตัน คิดเป็นเงินไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท อีกทั้งส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายดิบ ขาดวัตถุดิบ ต้นทุนผลิตสูงขึ้น รวมทั้งกระทบยังส่วนอื่นๆ อาทิ ไม่สามารถส่งกากอ้อยไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้ตามเป้าหมาย

รัฐบาลควรมองถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในประเทศ เป็นลำดับแรก โดยเฉพาะผลกระทบกับสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อส่งออก เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพดหวาน เพราะทำรายได้เข้าประเทศเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาท เพราะต่างชาติก็ยังมีการใช้ทั้งไกลโฟเซต และพาราควอต ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา บราซิล ออสเตรเลีย แคนนาดา ญี่ปุ่น และอีกกว่า 80 ประเทศ เกษตรกรจากประเทศเหล่านี้ก็ใช้สารพาราควอตเหมือนเกษตรกรไทย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...