ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
เตือนภาคเหนือเสี่ยงท่วมฉับพลันหลังพายุเข้าไทยช่วง 31 ส.ค.-1ก.ย.นี้
27 ส.ค. 2562

ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจเกาะติดพายุเข้าทางตอนเหนือของประเทศ 31 ส.ค.-1 ก.ย.นี้ เพื่อแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงท่วม-พิจารณาแผนระบายเพื่อรับน้ำ ด้านสทนช. ประเมินฝนช่วงเดือน ส.ค.ส่งผลแหล่งน้ำขนาดใหญ่เก็บน้ำได้กว่า 7 พันล้าน ลบ.ม. ช่วยลดพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ 30 จังหวัด แต่ยังลุ้นบางพื้นที่ฝนยังไม่เข้าเป้า  เร่งประสาน 6 หน่วยประเมินน้ำต้นทุนคงเหลือสิ้นฝน ชง กนช.เห็นชอบก่อนประกาศแผนจัดสรรน้ำทั้งประเทศในช่วงฤดูแล้งที่จะถึง

                    นายสมเกียรติ  ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า ได้เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบสถานการณ์น้ำปัจจุบัน ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์ฝน และปริมาณน้ำที่ไหลลงแหล่งน้ำต่างๆ พบว่า ฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักเพิ่มขึ้น และปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ประกอบกับจากการติดตามสภาพอากาศโดยศูนย์อำนวยการน้ำเฉพาะกิจ พบว่า ขณะนี้ได้เกิดพายุทางทิศตะวันออกของฟิลิปปินส์ และคาดการณ์เส้นทางพายุจะเข้าทางตอนเหนือของประเทศไทยในช่วงวันที่ 31 ส.ค - 1ก.ย ซึ่งศูนย์ฯ จะมีการติดตามประเมินสถานการณ์ใกล้ชิดร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์เส้นทางที่พายุผ่าน เพื่อแจ้งเตือนพื้นที่ที่อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน รวมถึงพิจารณาแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำเก็กกักมาก ซึ่งอาจจะต้องพิจารณาปรับแผนการระบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้วย ทั้งนี้ ฝนที่ตกสะสมตั้งแต่กลางเดือน ส.ค.ที่ผ่านมาถึงปัจจุบันส่งผลให้จำนวนพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำลดลงจาก 48 จังหวัด คงเหลือ 18 จังหวัด

                    “สทนช. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแนวทางแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือแก่พื้นที่ที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำต้นทุนผลิตประปาน้อยกว่า 15% ซึ่งเสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค จำนวน 15 จังหวัด 31 อำเภอ แบ่งเป็น ภาคเหนือ 2 จังหวัด 3 อำเภอ ภาคอีสาน 8 จังหวัด 19 อำเภอ ภาคตะวันออก 3 จังหวัด 7 อำเภอ ภาคใต้ 2 จังหวัด 2 อำเภอ ด้วยการจัดหาน้ำต้นทุนเพิ่มเติม พร้อมประกาศลดแรงดันน้ำประปา และจ่ายน้ำเป็นช่วงเวลา ขณะที่พื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักและน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนนี้บริเวณภาคเหนือตอนบน ได้แก่ น่าน แพร่ สุโขทัย แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ ภาคตะวันออก ได้แก่ นครนายก ปราจีนบุรี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ สกลนคร และร้อยเอ็ด ซึ่ง สทนช. ได้เน้นย้ำหน่วยเกี่ยวข้องดำเนินมาตรการจัดทำแผนระบายน้ำกรณีฉุกเฉิน ป้องกันน้ำล้นทำนบดิน ในอ่างฯ ทุกขนาด และจัดการน้ำหลากเพื่อเบี่ยงน้ำโดยใช้อาคารบังคับน้ำ เช่น ประตูระบายน้ำ  เขื่อนระบายน้ำ และเปิดทางน้ำใหม่ เป็นต้น เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบล่วงหน้าด้วย” เลขาธิการ สทนช.กล่าว

                      ขณะเดียวกัน  ยังรายงานถึงมาตรการเตรียมพร้อมการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งปี 62/63 โดยขณะนี้ สทนช.ได้มีหนังสือแจ้ง 6 หน่วยงาน ได้แก่ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ตามข้อสั่งการของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี จากการประชุมคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เมื่อ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อคาดการณ์ปริมาณน้ำต้นทุนคงเหลือหลังสิ้นสุดฤดูฝนในวันที่ 31 ส.ค.62 ของแหล่งน้ำทั่วประเทศ พร้อมทั้งประเมินปริมาณการใช้น้ำในช่วงเดือน ก.ย. – ต.ค. 62 และแผนการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2562/63 ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 4 ก.ย.นี้ โดยประเมินคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำในแต่ละกิจกรรมตามปริมาณน้ำต้นทุน และความจำเป็นตามลำดับความสำคัญ โดยเฉพาะการอุปโภค-บริโภคและระบบนิเวศ รวมถึงปริมาณน้ำต้นทุนในต้นฤดูฝน 2563 ด้วย ซึ่ง สทนช. จะนำข้อมูลดังกล่าวเสนอในการประชุมคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำช่วงต้นเดือน ก.ย. ก่อนจะนำเข้าเสนอในการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้งปี 2562/63 และต้นฤดูฝนปี 63 ในวันที่ 12 ก.ย. นี้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...