ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
ร้องศาลปกครองกลาง ค้านสัมปทานเหมืองปูน30ปี
20 มิ.ย. 2562

ร้องศาลปกครองกลาง ค้านสัมปทานเหมืองปูน30ปี 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ที่สำนักงานศาลปกครองกลาง  นายอนันต์ชัย  ไชยเดช ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากวัดถ้ำพระโพธิสัตว์ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี  เข้ายื่นฟ้องหน่วยงานรัฐ 29 แห่ง และเอกชน 2 ราย คือ บริษัท TPI โพลีน จำกัด (มหาชน)  เป็นเจ้าของโครงการ และ บริษัทเอ บี อี เอ็น เอนจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นท์ จำกัด (ที่ปรึกษาทำรายงานEIA )ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้เพิกถอนสัมปทานเหมืองแร่ของบริษัททีพีไอ โพลีน  ไม่ให้มีการดำเนินการในพื้นที่ลุ่มน้ำ 1 A  และในรัศมี 2,000 เมตรรอบวัดถ้ำพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นโบราณสถาน เพิกถอน(EIAรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม)โครงการเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนและหินดินดานเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเซนต์ของบริษัททีพีไอ โพลีน  จำกัด (มหาชน) และเพิกถอนคำอนุญาตของกรมป่าไม้ ที่อนุญาตให้บริษัททีพีไอ เข้าใช้ป่าสงวน  

       นายอนันต์ชัย กล่าวว่า ตนเป็นลูกศิษย์วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ ทราบว่าทางวัดต่อสู้กับเรื่องนี้มาเกือบ 30 ปี เพราะพื้นที่โดยรอบวัดเป็นป่าสงวนแห่งชาติและมีโบราณสถานเก่าแก่ เช่นภาพแกะสลักนูนต่ำสมัยทาราวดีอายุ 1,200 ปี  เป็นสถานที่ที่รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสต้น จนกรมศิลปกรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน  ต่อมาทางบริษัททีพีไอ มีการขอสัมปทานทำเหมืองหินปูนโดยอ้างว่าได้รับสัมปทานมาอย่างถูกต้อง ทั้งที่บริเวณโดยรอบกรมทรัพยากรธรณีเคยมีหนังสือแจ้งเจ้าอาวาสวัดถ้ำพระโพธิสัตว์ ในปี 2536 ว่าในรัศมี 2,000 เมตรรอบวัด กรมทรัพยกรธรณีจะไม่มีการออกสัมปทานบัตรให้กับเอกชนรายใด    ทำให้ตนต้องฟ้องต่อศาลปกครองไปแล้วเมื่อปี 2560 ซึ่งศาลมีคำสั่งคุ้มครองไม่ให้เปิดบริษัท ทีพีไอ เปิดหน้าเหมืองเพิ่ม แต่กลับพบว่าทาง บริษัทมีการลักลอบเปิดหน้าเหมือง อีกทั้งสัมปทานเดิมจะหมดปี 2564 ทางบริษัท ทีพีไอ จึงมีการขอสัมปทานเพิ่มอีก 30 ปี  และขยายพื้นที่ออกไปอีก 4 แปลง

    ซึ่งเข้าไปในพื้นที่ ที่จัดเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ 1เอ กำหนดเนพื้นที่อุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร  ซึ่งตนก็ได้มีการไปร้องเรียนกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ก็อ้างว่า ครม.มีมติยกเว้นพื้นที่ 1เอ ให้ทำเหมืองได้  ตนก็ต่อสู้มา  และ 7 มกราคม 2562 สำนักนโยบายและแผน  กรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็อ้างว่ายังไม่ได้มีการอนุมัติ และจะนำข้อห่วงของทางวัดไปพิจารณา  แต่ 17 พฤษภาคม 2562 อุตสาหกรรมจังหวัด ได้จัดทำประชาพิจารณ์และตนและชาวบ้านก็ไปร่วม โดยได้รับเอกสารฉบับหนึ่ง มีเนื้อหาระบุว่า 22 มกราคม 2562 คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการเหมืองแร่ เห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้รับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านในพ้นที่แล้ว

     ทั้งที่ตามข้อเท็จจริงชาวบ้านยังไม่รู้เรื่องกับโครงการดังกล่าวเลย จึงถือว่า อีไอเอ ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งทราบมาว่าในวันที่ 24 มิถุนายนนี้ จะมีการนำมตินี้เสนอที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หากเห็นชอบก็จะเสนอ ครม.พิจารณา ซึ่งถ้าเป็นไปตามนี้ ทีพีไอ ก็จะทำเหมืองปูนได้ตลอด 30 ปี ในพื้นที่ที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งนี้ ในการนำมติเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯจะนำการทำรายงานEIAที่มิชอบด้วยกฏหมายเสนอประกอบการพิจารณา

   “ผมอยากให้ชาวสระบุรี ลุกขึ้นมาปกป้องผืนป่า ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ โบราณสถาน ที่เป็นสวิตเซอร์แลนด์เมืองไทย เพราะถ้าไม่ต่อสู้ ต่อไปก็จะไม่มีพื้นที่สีเขียว ไม่มีฟาร์มโคนม ไม่มีแหล่งต้นน้ำลำธาร ถ้าเราไม่ช่วยกันต่อสู้ ทุกอย่างก็หมดจริงๆ  ผมอยากให้ทับกวาง หมวกเหล็กเป็นสวิตเซอร์แลนด์” นายอนันต์ชัยกล่าวและว่า ถ้าหากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและ ครม.มีมติเห็นชอบ ก็จะฟ้องคดีอาญา มาตรา 157 กรณีปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...