ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
พช.เปิดหลักสูตร OTOP Academy เล็งปั้นสินค้าเกรด D สู่ตลาดสากล
05 มิ.ย. 2562

               ด้วยลักษณะการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ได้เปิดกว้างมากขึ้น ส่งผลให้การแข่งขันทางธุรกิจเองก็ต้องเปิดกว้างขึ้นเช่นกัน ซึ่งไม่ใช่เพียงเอกชนรายใหญ่ ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้ประกอบการรายย่อยหรือที่รู้จักกันในชื่อ SMEs ก็ยังต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการแข่งขันที่ดุเดือดขึ้นทุกขณะเช่นกันรวมไปถึงระดับที่อาจเล็กว่า SMEs อย่างวิสาหกิจชุมชนก็ยังไม่เว้นที่จะต้องมีการปรับและพัฒนาตนเองให้ทันต่อธุรกิจในระดับโลกด้วย แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าสินค้า OTOP หรือสินค้าชุมชนนั้นแม้จะมีจุดแข็งเรื่องของทักษะที่มีสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่วิสาหกิจชุมชนเหล่านี้มักจะขาดองค์ความรู้ด้านการทำธุรกิจอย่างมืออาชีพ ส่งผลให้ส่วนเน้นการทำตามกันเป็นหลักทำให้เกิดการผลิตสินค้าที่ออกมาแบบเดิม ๆ ซ้ำไปมา เพราะทำตามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุนี้ทางกรมการพัฒนาชุมชนจึงได้มีโครงการ “OTOP Academy” เพื่อหวังสร้างความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์เดิม

                นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยว่า แม้ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันแต่สินค้า OTOP หรือสินค้าชุมชนนั้นก็ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วงปีหลังนี้เองที่ได้มีการพัฒนาอย่างก้าวเข้มข้น อีกทั้งได้มีการรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ส่งผลให้ 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ สินค้าชุมชนมีมูลค่าเติบโตรวมสูงขึ้นเฉลี่ย 20% ซึ่งในปี 2561 มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้า OTOP สูงถึง 190,000 ล้านบาทในช่วงปีที่ผ่านมา ในเติบโตส่วนที่ 2 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ ได้มีการลงทะเบียน 80,143 กลุ่ม ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เองก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 167,000 ผลิตภัณฑ์ ถือได้ว่าช่วงไม่กี่ที่ผ่านมานี้ถือเป็นยุคของสินค้าชุมชนเลยทีเดียวและสามารถพัฒนาตนเองได้ดี อีกทั้งยังสามารถยกระดับตนเองให้เข้าสู่รูปแบบการค้ายุคใหม่ เช่น E-Commerce นอกจากนี้ยังได้มีการนำสินค้าชุมชนคุณภาพสูงไปขายบนเครื่องบินอีกด้วย

                อย่างไรก็ตามวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ยังคงติดกับดักของความสำเร็จ โดยเฉพาะวิสาหกิจชุมชนที่กำลังค้นหาผลิตภัณฑ์และได้เห็นความสำเร็จของ OTOP บางกลุ่มจึงได้มีการทำตาม โดยคาดหวังว่าจะขายได้ดี ทว่า ด้วยขนาดตลาดยังคงเท่าเดิม อีกทั้งลักษณะสินค้ายังคงเป็นแบบเดิม ๆ ทำให้โอกาสที่จะสำเร็จได้เหมือนสินค้าต้นแบบ จึงเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้อีกความท้าทายในการพัฒนาสินค้าชุมชน ก็คือการสร้างมาตรฐานและคุณภาพอย่างไรให้สูงพอที่จะสามารถได้รับรองในระดับระดับสากลให้มากยิ่งขึ้น

            “เรื่องของการสินค้าใหม่ให้เกิดขึ้นใหม่โดยส่วนใหญ่ต้องมีการพัฒนาซึ่งจะอยู่ในกลุ่ม “ปรับปรุงตัวสู่การพัฒนา” หรือที่เรียกว่า กลุ่ม D ซึ่งกลุ่มนี้เหมือนเป็นสินค้าใหม่ที่ต้องมีการปรับปรุงในเรื่องของคุณภาพและมาตรฐาน รวมไปถึงการดีไซน์ หรือการจัดจำหน่าย เป็นต้น ทั้งนี้สินค้าลักษณะทำตามนั้นจะมีผู้ที่ประสบความสำเร็จก้าวสู่ตลาดสากลได้หรือบางกลุ่มจะทำออกมาแต่สินค้ายังไม่น่าสนใจและยังคงอยู่กลุ่ม D เหมือนเดิม และเนื่องจากมีสินค้าประเภทนี้อยู่เยอะ ทางกรมการพัฒนาชุมชนจึงได้กำหนดนโยบาย 3 เรื่องคือ เรื่องคุณภาพ เรื่องมาตรฐานและการก้าวสู่สากล โดยเรามีกลไกหรือองค์คาพยบในการขับเคลื่อนสินค้าเหล่านี้อยู่แล้ว และเพื่อแก้หนึ่งในปัญหาของการทำสินค้าออกมาซ้ำ ๆ เราจึงได้จัดตั้งโครงการ “OTOP Academy” ขึ้นมา” นิสิต กล่าว

              อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยว่า  โดยเป้าหมายของ OTOP Academy ไม่ได้ทำเหมือนโรงเรียนทั่ว ๆ ไปแต่มุ่งเน้นในการปรับปรุงหรือสินค้าระดับ D เหล่านี้ให้มีความอร่อย ตามด้วยสะอาดปลอดภัยและมีคุณภาพ อย่าง OTOP เหล่านี้ที่เปิดขึ้นมาได้มีการพัฒนาสินค้าซ้ำ ๆ เช่น กลุ่มกระยาสารท น้ำพริก กาละแม ข้าวแต๋น ซึ่งเป็นสินค้าที่ชาวบ้านชอบทำซ้ำ ๆ กันสู่การพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ทั้งการคัดวัถุดิบมาทำผลิตภัณฑ์และทำให้เกิดความแตกต่างออกมา เช่นทุกวันนี้ได้มี กระยาสารทที่ทำจากหญ้าหวาน เป็นต้น

            ทั้งนี้แม้สินค้าที่ทำออกมาถึงจะต้องซ้ำก็ต้องซ้ำ เพราะชาวบ้านมีทักษะที่คล้ายคลึงกันโดยเราจะนำวิสาหกิจชุมชนหรืออาจารย์ที่ชนะเลิศในสินค้าประเภทนั้นประกวดอาหารถิ่นรสไทยแท้เอามาสอนให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้ เช่น เอาผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จที่สามารถขายกระยาสารทได้วันหนึ่ง 70,000 บาทต่อวัน หรือ นำผู้ประกอบการที่ขายน้ำพริกได้ดีเอามาเป็นอาจารย์สอน ซึ่งผู้ประกอบการที่เป็นเหมือนต้นแบบเหล่านี้ก็ยินดีที่จะมาสอนชาว OTOP ด้วยกันอยู่แล้ว ในส่วนของความสะอาดทางกรมฯ ก็ใช้วิทยากรจากสถาบันอาหารเข้ามาคัดเลือกหรือสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อให้สินค้าได้ความสะอาดปลอดภัยได้มาตรฐานและมีคุณภาพ

            ในส่วนเรื่องของการให้ชุมชนเหล่านี้มีโอกาสก้าวสู่สากลเรื่องของมาตรฐานทางกรมการพัฒนาชุมชนได้จับมือกับกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงสาธารณสุขและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนได้เห็นความสำคัญของมาตรฐาน ทั้งมาตรฐานการผลิต มาตรฐานคุณภาพสินค้า ซึ่งความคืบหน้าตอนนี้ได้มีการพูดคุยกับปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อที่ทางกรมการพัฒนาชุมชนจะส่งผลิตภัณฑ์ชุมชนกว่าหมื่นรายการเข้าไปตรวจสอบในระดับแหล่งผลิต ถ้าตรวจแล้วไม่ได้ทางกรมฯ ก็จะมีทีมเข้าไปแนะนำพัฒนาให้เขาทำได้ ซึ่งหากไม่สามารถยกระดับให้เขาผ่านมาตรฐานพวกเขาก็จะขาดโอกาสในการไปร่วมงานใหญ่ ๆ อาทิ OTOP City เมืองทองธานี ไม่ได้ เนื่องจากทางกรมฯ ก็ต้องประกันคุณภาพให้กับผู้บริโภคด้วย

            เรื่องของมาตรฐานในปัจจุบันได้มีความหลากหลายมากขึ้นอย่างสินค้าเกษตรนั้น ก็ต้องได้มาตรฐาน GI รวมถึงความสำคัญของแหล่งผลิตเพื่อรับรองให้ผู้บริโภคได้เห็นว่าเขาได้สินค้าขึ้นจากถิ่นจริง ๆ ไม่ใช่สินค้าย้อมแมวจากที่ไหนก็ไม่รู้ ด้วยสินค้าที่ได้มาตรฐานจะทำให้การก้าวสู่สากลมีความเป็นไปได้มากด้วย

             นอกจากนี้ ทางกรมการพัฒนาชุมชนยังได้เชื่อมโยงความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเพื่อหาวิธีให้สินค้าชุมชนก้าวสู่สากลได้ จึงเกิดเป็นการท่องเที่ยวชุมชนโดยรัฐบาลส่งเสริมให้นักท่องเที่ยว เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ขณะที่ทางกรมฯ จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้รองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เป็นการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับชุมชน โดยตอนนี้โครงการทั้งนี้และปีนี้เพิ่งเริ่มทำ OTOP Academy เพิ่งเริ่มเป็นปีแรก แต่ก็ได้มีการพัฒนาไปแล้วกว่า 300-400 รายแล้ว แบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 30 กว่าคน ต้องใช้เวลาการพัฒนาประมาณ 3-4 วัน

             “ตอนนี้ได้มีการเปิด OTOP Academy ทั่วทุกภาคของประเทศ ถ้าภาคกลางในส่วนของอาหารเราเปิดที่จังหวัดสระบุรี ถ้าจักรสานเราก็เปิดที่จังหวัดอ่างทอง ในส่วนของผ้าก็ได้เปิดที่จังหวัดขอนแก่น ที่ต้องเปิดในที่เหล่านี้เพราะเราต้องการให้ผู้ที่เชี่ยวชาญเป็นผู้สอน เนื่องจากคนเหล่านี้สามารถนำให้องค์ความรู้ในเชิงลึกได้ ซึ่งมีผู้ประกอบการที่เป็นสินค้าระดับ D เคยบอกว่า ไม่นึกเลยว่าทางกรมการพัฒนาชุมชนจะให้โอกาสพวกเขาในการพัฒนา เพราะเรามีแนวคิดไม่ทิ้งไว้ข้างหลังนั้นเอง” อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวเสริม

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...