ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ตั้งกรรมการสอบเอาผิดย้อนหลัง ขุดถึงรากคนเอี่ยวค่าโง่โฮปเวลล์
16 พ.ค. 2562

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่า กระทรวงคมนาคมได้รายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบถึงลำดับขั้นของคดี กรณีที่ศาลปกครองสูงสุดที่มีคำพิพากษาให้กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จ่ายค่าชดเชยแก่บริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด จากการบอกเลิกสัญญาโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับ รวมเป็นเงิน 11,888.75 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี และค่าใช้จ่ายอื่นๆ โดยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับตั้งแต่คดีสิ้นสุด รวมทั้งนำเสนอแนวทางในการดำเนินการตามคำพิพากษา

โดยรายงานข่าวโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นมาราว 30 ปีแล้ว รวม 9 รัฐบาล ริเริ่มขึ้นในปี 2532 เป็นโครงการถนนและรถไฟยกระดับที่ต้องการนำมาแก้ปัญหาการจราจรใน กทม. โดย ครม.ได้อนุมัติหลักการให้ดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2532 มูลค่าการลงทุนรวม 7 หมื่นล้านบาท กำหนดระยะเวลาก่อสร้างไว้ 8 ปี อายุสัมปทาน 30 ปี โดย รฟท.และกระทรวงคมนาคมได้มีการลงนามในสัญญาร่วมกับโฮปเวล์ โฮลดิ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 9 พ.ย.2533 มีการแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนให้ภาครัฐ 5 หมื่นล้านบาท โดยโฮปเวลล์ ได้มีการทยอยจ่ายค่าตอนแทนให้ รฟท.แล้ว 7 งวด

แต่หลังจากผ่านไป 6 ปี ผลงานก่อสร้างล่าช้าคืบหน้าไม่ถึง 10% ไม่เป็นไปตามแผน เพราะใช้รูปแบบดีไซด์แอนด์บิวท์ ออกแบบไปก่อสร้างไป ซึ่งที่ผ่านมา รฟท.ได้ขยายระยะเวลาก่อสร้างให้ตลอดแต่ยังคืบหน้าไม่มาก ประกอบกับช่วงปี 2540 ใกล้เวลาที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ จำเป็นต้องมีถนนและทางรถไฟยกระดับไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิตซึ่งเป็นสนามการแข่งขัน ดังนั้นรัฐบาลจึงมีมติเมื่อวันที่ 30 ก.ย.2540 ให้คมนาคมและ รฟท.บอกเลิกสัญญาโฮปเวลล์

นายอาคม กล่าวต่อว่า หลังบอกเลิกสัญญาในปี 2547 โฮปเวลล์ได้ยื่นร้องต่ออนุญาโตตุลาการเรียกร้องค่าเสียหายรวม 5.8 หมื่นล้านบาท หลังจากนั้นโฮปเวลล์ได้ขอแก้ไขทุนทรัพย์ลงเหลือ 2.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งครั้งนั้นอนุญาโตตุลาการชี้ขาดในปี 2548 ให้ รฟท.และกระทรวงคมนาคมจ่ายค่าเสียหายกรณีบอกเลิกสัญญาให้โฮปเวล์ 4 ส่วนคือ 1.ค่าตอบแทน 2,850 ล้านบาท 2.ค่าธรรมเนียมการในการออกหนังสือค้ำประกัน 38 ล้านบาท 3.ค่าคืนเงินสัญญาค้ำประกันวงเงิน 500 ล้านบาท และ 4.ให้คืนเงินค่าก่อสร้าง ตอม่ออีก 9,000 ล้านบาท บวกอัตราดอกเบี้ย 7.5% ซึ่งเป็นตัวเลขค่าเสียหายที่น้อยกว่าที่โฮปเวลล์เรียกร้อง

จากนั้นกระทรวงคมนาคม และ รฟท.ได้ยื่นต่อศาลปกครองชั้นต้นให้เพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ ซึ่งศาลมีคำสั่งชี้ขาดไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยสั่งให้กระทรวงคมนาคมและ รฟท.ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่หลังจากนั้นโฮปเวลล์ ได้ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองสูงสุดอีกครั้ง ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้ร้องแย้ง แต่สุดท้ายศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดกลับคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้นให้กระทรวงคมนาคม และ รฟท. จ่ายชดเชยโฮปเวลล์ 4 ส่วนคือ 1.ค่าตอบแทน 2,850 ล้านบาท 2.ค่าธรรมเนียมการในการออกหนังสือค้ำประกัน 38 ล้านบาท 3.ค่าคืนเงินสัญญาค้ำประกันวงเงิน 500 ล้านบาท และ 4.ให้คืนเงินค่าก่อสร้าง ตอม่ออีก 9,000 ล้านบาท บวกอัตราดอกเบี้ 7.5%

นายอาคม กล่าวต่ออีกว่า สำหรับขั้นตอนการดำเนินต่อจากนี้นั้น รฟท.และกระทรวงคมนาคมได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะดำเนินการ 5 ข้อ 1.ให้มีการคำนวนวงเงินชดใช้ค่าเสียหายให้ชัดเจน โดยของให้ศาลปกครองสูงสุดช่วยชี้ตัวเลขดังกล่าวให้ ซึ่งขณะนี้ รฟท. ได้ทำหนังสือถึงสำนักงานคดีปกครองเพื่อตรวจสอบวงเงินชดเชยดังกล่าวด้วย 2.ให้เปิดเจรจากับโฮปเวลล์ เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล และลดผลกระทบต่อภาครัฐโดยเฉพาะ เรื่องวงเงิน ดอกเบี้ย และระยะเวลาการชดใช้คืนเงิน 3.ให้กำหนดแนวทางและแหล่งเงินที่เหมาะสม 4.ให้แต่งตั้งคณะทำงานจากผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม, รฟท., กรมบัญชีกลาง, สำนักอัยการสูงสุด, สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อพิจารณาตามข้อ 1, 2, 3 รวมถึงดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และเป็นประโยชน์ต่อรัฐ โดยคณะทำงานชุดนี้จะพิจารณาดูทั้งวงเงินค่าชดเชย แนวทางมรการเจรา และแนวทางในการชำระ รวมทั้งแหล่งเงินว่าจะนำมาชำระว่าจะนำมาจากส่วนใหญ่

และ 5.ให้กระทรวงคมนาคมและ รฟท.ร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบความรับผิดทางละเมิด เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยต้องไปพิจารณาว่าโครงการมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ และใครเกี่ยวข้องบ้างที่ต้องมีส่วนในการรับผิดตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นสัญญาจนถึงบอกเลิกสัญญา โดยจะต้องพิจารณาย้อนหลังไปจนถึงขั้นตอนการเริ่มเสนอโครงการ ว่าเป็นหน่วยงานไหน ซึ่งในโครงการนี้ถือว่าค่อนข้างประหลาดที่กระทรวงคมนาคมเป็นคนที่ลงนาในสัญญาด้วยซึ่งจะต้องกลับไปพิจารณาว่าทำไมกระทรวงคมนาคมจะต้องเข้าไปร่วมลงนามร่วมกับ รฟท.ด้วย

นายอาคม กล่าวอีกว่า โครงการนี้เกิดขึ้นมา 30 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 2532 ไม่ได้เริ่มต้นในรัฐบาลชุดนี้ โดยรัฐบาลชุดนี้เข้ามาทำหน้าที่แก้ปัญหาเท่านั้น ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าโครงการนี้ไม่ได้มีการทำการศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินโครงการ เป็นโครงการที่รัฐบาลต้องการที่จะเร่งแก้ไขปัญหาจราจรในช่วงการจัดงานเอเชียนเกมส์ ซึ่งกระทรวงคมนาคมสมัยนั้นก็ได้นำเสนอโครงการ ผิดแผกแตกต่างไปจากโครงการอื่นที่มีการศึกษาความเหมาะสมก่อน รวมทั้งการก่อสร้างแบบดีไซน์แลนด์บิวท์ หรือออกแบบไปสร้างไปของโฮปเวลล์ยังทำให้เกิดปัญหาล่าช้า จนในที่สุด ครม.ในอดีตก็เคยมีมติให้โครงการก่อสร้างของรัฐมีการดำเนินการโครงการแบบ ดีเทลดีไซด์ คือออกแบบก่อนการก่อสร้างเพื่อให้รับทราบวงเงินและแบบก่อสร้างที่ชัดเจนก่อนเพื่อไม่ให้เกิดข้อถกเถียงระหว่างการก่อสร้าง

“นายกฯ ได้กำชับให้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างรอบคอบ ขณะนี้ยังตอบไม่ได้ว่าคณะทำงานจะสรุปได้ตัวเลขค่าชดเชย แนวทางการจ่ายเงิน แหล่งเงิน เพื่อสรุปเสนอ ครม.ได้เมื่อไหร่ ยันยันว่ารัฐบาลมีเงินพร้อมจ่าย แต่ก็คงต้องพิจารณาให้รอบคอบ ซึ่งก็จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดของศาลที่ให้จ่ายภายใน 180 วัน หรือ คณะทำงานอาจจะมีการเจรจาต่อรองขยายระยะเวลาออกไปก็เป็นไปได้” นายอาคม กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...