ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
กฟผ. จับมือ สทน. ลงนาม MOU พัฒนาเทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชัน พัฒนาต้นแบบเครื่องโทคาแมคไทย
25 เม.ย. 2562

กฟผ. และ สทน. ลงนาม MOU ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชัน พร้อมร่วมมือออกแบบและพัฒนาระบบประกอบของเครื่องโทคาแมคให้เป็นเครื่องต้นแบบของประเทศ ตลอดจนพัฒนาบุคลากรการวิจัยด้านพลาสมาและฟิวชันไทยให้พร้อมสำหรับก้าวใหม่ของเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอีกหลากหลายด้าน
 
นายพัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ ในฐานะโฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 
 เปิดเผยว่า กฟผ. ได้มุ่งมั่นพัฒนาระบบไฟฟ้าของประเทศให้มีความมั่นคง มีเสถียรภาพ และเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชน ด้วยการผสมผสานพลังงานที่หลากหลาย และให้ความสำคัญต่อการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติกับหน่วยงานวิจัยภายนอกอยู่เสมอ ซึ่งเทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชันถือเป็นหนึ่งเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจอย่างสูงในหลากหลายประเทศ เป็นแหล่งพลังงานในอนาคตที่มีความสะอาด ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กฟผ. จึงได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชัน เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในด้านเทคโนโลยีฟิวชัน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ทันต่อสถานการณ์พลังงานที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน
สำหรับ MOU ฉบับนี้ มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี โดย กฟผ. และ สทน. มีความร่วมมือระหว่างกัน อาทิ ร่วมกันศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชัน เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม เพื่อยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรในสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชัน การร่วมกันจัดอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการด้านดังกล่าวแก่บุคลากรของทั้งสองฝ่าย ตลอดจนสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเฉพาะทาง รวมถึงร่วมมือกันออกแบบและพัฒนาระบบประกอบของเครื่องโทคาแมค ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญในการกักเก็บพลาสมาด้วยสนามแม่เหล็กและใช้ในการศึกษาวิจัยเรื่องเทคโนโลยีฟิวชัน โดยผสานความเชี่ยวชาญด้านวิศกรรมไฟฟ้าและการออกแบบระบบไฟฟ้าของ กฟผ. กับความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ของ สทน. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชันของประเทศต่อไป ทั้งนี้ ในอนาคตอาจสามารถใช้เทคโนโลยีฟิวชัน ซึ่งเป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาดใช้ในการผลิตไฟฟ้าได้สำเร็จ 

โดย กฟผ. จะสนับสนุนงบประมาณ 230 ล้านบาท เพื่อร่วมกันศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชัน ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม การยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรในสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชัน  การร่วมกันจัดอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการด้านดังกล่าวแก่บุคลากรของทั้งสองฝ่าย ตลอดจนสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เฉพาะทาง รวมถึงร่วมมือกันออกแบบและพัฒนาระบบประกอบของเครื่องโทคาแมค ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญในการกักเก็บพลาสมาด้วยสนามแม่เหล็กและใช้ในการศึกษาวิจัยเรื่องเทคโนโลยีฟิวชัน โดยผสานความเชี่ยวชาญด้านวิศกรรมไฟฟ้าและการออกแบบระบบไฟฟ้าของ กฟผ. กับความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ของ สทน. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชันของประเทศต่อไป

ทั้งนี้กฟผ.ยังคาดหวังด้วยว่า เทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชัน จะพัฒนาไปสู่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยุคใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและไม่เกิดสารกัมมันตรังสี ในอีก 40-50 ปีข้างหน้า ที่จะสร้างความมั่นคงพลังงานให้กับประเทศได้ โดยที่มีค่าไฟฟ้าที่ถูกลง เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ และในอนาคตเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าจะก้าวสู่ยุคที่ 3 คือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เทคโนโลยีใหม่พลาสมาและฟิวชัน ที่เบื้องต้นคาดว่าจะต้องเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ประมาณ 3,000-5,000 เมกะวัตต์  ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงไปในโลกอนาคต

ด้าน ดร.พรเทพ นิศามณีพงษ์ ผู้อำนวยการ สทน. เปิดเผยถึงกรอบความร่วมมือว่า กฟผ. และ สทน. จะร่วมกันวิจัยและพัฒนาศักยภาพของระบบจ่ายพลังงาน ระบบควบคุมและเก็บข้อมูล ระบบวัดคุณสมบัติของพลาสมาขั้นพื้นฐาน และระบบสุญญากาศของเครื่องโทคาแมค เพื่อเป็นเครื่องต้นแบบสำหรับประเทศไทย รวมถึงพัฒนาเครื่องกำเนิดพลาสมาเชิงเส้นต้นแบบที่มีอุณหภูมิและความหนาแน่นของพลาสมาตามมาตรฐาน โดยเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์หลากหลายด้าน อาทิ การผลิตวัสดุทนความร้อนสูงเพื่อใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมการใช้เครื่องพลาสมาทางการแพทย์ ตลอดจนการเกษตร และการพัฒนาระบบควบคุมความเร็วสูง นอกจากนั้น ยังเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรภายในประเทศมีองค์ความรู้ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชัน ซึ่งเป็นก้าวใหม่ที่สำคัญต่อการวิจัยด้านเทคโนโลยีขั้นสูง

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...