ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
หลายภาคส่วนร่วมผลักดัน 5G ใบอนุญาต 3 แบบ/ 2 ปีเริ่มใช้
24 เม.ย. 2562

นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวในงานเสวนาวิชาการ “5G ปลุกไทยที่ 1 อาเซียน” ว่า ปัจจุบันมีกฎหมายด้านดิจิทัลและกฎหมายของสำนักงานนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต้องเดินไปด้วยกัน เพื่อผลักดันให้ไทยก้าวไปข้างหน้า และมุ่งไปสู่การเป็นผู้นำของอาเซียน โดย 5G คือเป้าหมายหลักที่ไทยต้องผลักดันให้เกิดขึ้น มีคุณสมบัติสำคัญคือ 1. ความหน่วงต่ำที่ลดลง 2. การเคลื่อนย้ายข้อมูลของ 5G จะสูงกว่า 4G ถึง 100 เท่า 3. การเชื่อมต่อของ 5G จะสูงกว่า 4G ถึง 100 เท่าเช่นกัน และ 4. โมบิลิตี้ หรือการสัญจรของ 5G ที่มีประสิทธิภาพ ด้วยระบบนี้จะรองรับรถไฟความเร็วสูงและรถยนต์ขับเคลื่อนอัจฉริยะในอนาคต

“5G จะเป็นอาวุธช่วยประเทศเล็กๆ ล้าหลัง ให้สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด สำหรับไทยปัจจุบันได้ดำเนินการแล้ว โดย กสทช.ได้ขับเคลื่อนร่วมกับจุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ทำพื้นที่ทดสอบ ขณะที่กระทรวงดีอีร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้พื้นที่ศรีราชาของมหาวิทยาลัยจัดตั้งศูนย์ทดสอบการใช้งาน 5G ถือเป็นการทดสอบซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี นอกจากนี้ ยังมีการทดสอบ 5G ในภาคส่วนต่างๆ ในศรีราชา อาทิ ท่าเรือแหลมฉบัง ไปรษณีย์ไทย โรงพยาบาลสมิติเวช มหาวิทยาลัยมหิดล โรงงานผลิตรถยนต์ของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) บริษัทแสนสิริ”

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวในงานเดียวกันนี้ว่า กสทช.คาดว่าหากมีการประมูลคลื่นและใช้เทคโนโลยี 5G จะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ในปี 2578 ถึง 2.3 ล้านล้านบาท โดย กสทช.เตรียมจะให้มีการประมูลคลื่นความถี่ 2600 เมกะเฮิรตซ์ 28 กิกะเฮิรตซ์ ใน 3 แบบ คือ ใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ในภาคอุตสาหกรรม, ใบอนุญาตครอบคลุมทั่วประเทศ และประมูลแบบมัลติแบนด์

สำหรับในปีที่ผ่านมาการลงทุนของประเทศในอาเซียนมีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศไทยกลับมีการลงทุนลดลง หากไม่มีการใช้เทคโนโลยี 5G จะทำให้การลงทุนยิ่งถดถอยลง และเมื่อ 5G เกิดขึ้น ความท้าทายที่จะตามมา คือ การใช้บริการสื่อสารข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ความท้าทายในการจัดเก็บรายได้ ดังนั้น กสทช. เสนอแนวทางให้ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศรายงานปริมาณของผู้ให้บริการแต่ละราย

โดย กสทช.กำหนดหลักเกณฑ์ปริมาณการจัดเก็บรายได้จากการใช้โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยใช้บริการข้อมูลปริมาณน้อยหรือใช้งานส่วนบุคคลให้ใช้ฟรี หากใช้งานปริมาณมากหรือใช้งานในเชิงธุรกิจกิจให้คิดค่าบริการอัตราก้าวหน้า โดยรายได้ที่เกิดขึ้นให้นำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน เพื่อนำมาบำรุงโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคม

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...