ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
ไทยนิยม ยั่งยืน อัดงบเข้า ก.เกษตรฯ 2.4 ล้าน ดันศูนย์ ศพก.สร้างเกษตรกร 4.0
12 ก.ค. 2561

เร่งเครื่องไทยนิยม ยั่งยืน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 61 กระทรวงเกษตรฯ ได้รับจัดสรร 24,993 ล้านบาท ขับเคลื่อน ระบุ งบประมาณอัดฉีดชูเกษตรกรได้รับประโยชน์ 4.3 ล้านราย จะมีรายได้เพิ่มขึ้น 35,304 ล้านบาทต่อปี กระตุ้นระบบเศรษฐกิจ 63,599 ล้านบาท พร้อมผลักดัน ศพก.882 ศูนย์ ปั้นเกษตรกรเป็นตัวแทนราชการรับเรื่องปัญหาในพื้นที่เพื่อการแก้ไขปรับปรุงได้ทันที

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เห็นชอบพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2561 เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนไทยนิยม ยั่งยืน ซึ่งในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวนทั้งสิ้น 24,993 ล้านบาท (เป็นงบลงทุน 16,152 ล้านบาท และงบดำเนินงาน 8,841 ล้านบาท) มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ 4.3 ล้านราย และสามารถสร้างอาชีพใหม่ เช่น อาชีพประมง ปศุสัตว์ การปลูกพืช (ผลิตเมล็ดพันธุ์) แปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ศิลปะชีพ หัตถกรรม และการซ่อมเครื่องจักรกลการเกษตร

(1) แผนงานยุทธศาสตร์ปฏิรูปโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเจ้าภาพ วงเงินรวมประมาณ 24,300 ล้านบาท แบ่งเป็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 23,796 ล้านบาท (17 โครงการ ดำเนินการโดย 14 หน่วยงาน) แบ่งออกเป็นกลุ่มโครงการ 5 กลุ่ม 1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำระดับชุมชน วงเงิน 10,090 ล้านบาท โดยสร้างฝายชะลอน้ำ พัฒนาแหล่งน้ำสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซ่อมแซมระบบชลประทาน สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 18,020 ไร่ พื้นที่รับประโยชน์เพิ่มขึ้น 2.14 ล้านไร่ เกษตรกรได้รับประโยชน์จากแหล่งน้ำเพิ่มขึ้น8 แสนราย

2. การปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อลดความเสี่ยง วงเงิน 1,583 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเกษตรกรทำกิจกรรมเกษตรอื่นทดแทนการทำสวนยาง จำนวน 150,000 ไร่ รายละไม่เกิน 10 ไร่ จำนวน 30,000 ราย รวมทั้งฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้ในการประกอบอาชีพใหม่ 3. พัฒนาการผลิตพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และพัฒนาเครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ วงเงิน 713 ล้านบาท โดยปรับปรุงศูนย์ขยายพันธุ์พืชเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตท่อนพันธุ์และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 10 ศูนย์ การผลิตและการกระจายพันธุ์สัตว์ปีก 25,160 ตัว รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อจำหน่าย 26 กลุ่ม

4. แก้ไขปัญหาความยากจนลดความเหลื่อมล้ำและพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร วงเงิน 5,997 ล้านบาท เพื่อพัฒนาอาชีพด้วยการฝึกอบรมตามความต้องการของเกษตรกร 1.9 ล้านราย และอุดหนุนเงินทุนให้แก่ชุมชน จำนวน 9,101 ชุมชนๆ ละ 3 แสนบาท 5. บริหารจัดการสินค้าเกษตรและสร้างมูลค่าเพิ่ม วงเงิน 5,904 ล้านบาท เพื่อพัฒนาสถาบันเกษตรกรในการจัดเก็บพืชผลทางการเกษตร (แก้มลิง) 146 แห่ง สนับสนุนอุปกรณ์แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรแก่สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 101 แห่ง เพิ่มศักยภาพการรวบรวมและการแปรรูปยางพาราในสถาบันเกษตรกร 62 แห่ง รวมทั้งส่งเสริมการใช้ยางในด้านชลประทาน โดยนำยางพารามาซ่อมแซมและปรับปรุงคันคลองชลประทาน 317 โครงการ

ในการนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้วิเคราะห์ผลกระทบของโครงการไทยนิยม ยั่งยืนต่อเศรษฐกิจภาพรวมและประโยชน์ที่เกิดขึ้นเกษตรกร พบว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจภาพรวมงบประมาณที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับทั้งสิ้น 24,993 ล้านบาท จะก่อให้เกิดการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่า 63,599 ล้านบาท (2.54 เท่าของงบประมาณ) โดยแบ่งออกเป็นด้านการผลิต 47,563 ล้านบาท จากค่าจัดซื้อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในโครงการลงทุนก่อสร้างส่งผลให้เกิดการผลิตสินค้าวัสดุที่เกี่ยวเนื่องในระบบห่วงโซ่การผลิต และด้านรายได้ 16,035 ล้านบาท จากค่าจ้างแรงงานในโครงการต่างๆ ซึ่งเป็นรายได้แรงงานที่จะถูกนำไปจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคของครัวเรือนและกระจายไปเป็นรายได้ของร้านค้ารวมถึงธุรกิจในชุมชนที่ต่อเนื่อง

ซึ่งจากผลกระทบต่อเกษตรกรที่วัดจากที่เกษตรกรได้รับจากกิจกรรมโครงการต่างๆ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เช่น รายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตที่ลดลงและโครงสร้างพื้นฐานที่ก่อสร้างเพิ่มขึ้นหรือพัฒนาให้ดีขึ้น โดยผลวิเคราะห์พบว่า เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 35,304 ล้านบาท/ปี โดยเพิ่มขึ้นจากกิจกรรมการพัฒนาแหล่งน้ำชลประทานในการเพิ่มพื้นที่ชลประทาน2.12 ล้านไร่ คิดเป็น 10,288 ล้านบาท กิจกรรมเพิ่มศักยภาพการผลิตและการพัฒนาทักษะอาชีพ 23,897ล้านบาท กิจกรรมการลดต้นทุนการผลิตด้วยการสนับสนุนเมล็ดพืชและสัตว์พันธุ์ดี 874 ล้านบาท และกิจกรรมเสริมศักยภาพธุรกิจสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 245 ล้านบาท นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น จากกิจกรรมการสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ 1,341 แห่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดความยั่งยืนในการทำการเกษตรในอนาคตทั้งในพื้นที่นอกเขตชลประทานและพื้นที่ ส.ป.ก.

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) 882 ศูนย์ โดยใช้เป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญของเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการปฏิบัติจริงสู่และยังเป็นการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่

 ซึ่ง ศพก. มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยและยังทำหน้าที่เหมือนตัวแทนของหน่วยราชการในพื้นที่ในการรับทราบปัญหาของเกษตรกรเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาในพื้นที่ได้อย่างทันที ที่สำคัญคือต้องมีการตรวจสอบการบริหารงบประมาณในโครงการต่างๆ ของภาครัฐที่ลงไปยังพื้นที่ว่ามีความถูกต้อง โปร่งใส และถึงมือเกษตรกรหรือไม่ และเพื่อการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยม ยั่งยืนของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม ศพก.จะต้องเชื่อมโยงเครือข่ายองค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้สามารถครอบคลุมทั่วประเทศและสมาชิกในชุมชนต่างๆ ก็สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้งานในการพัมนาผลิตภัณฑ์เกษตรต่อไปได้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...