ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
'ดีป้า' นำร่องปั้นคนดิจิทัลกว่า 3.7 พันราย
17 พ.ค. 2561

“ดีป้า” เร่งแผนปั้นคนดิจิทัลป้อนอุตสาหกรรม ร่วมมือ 10 สถาบันการศึกษาอบรมบุคลากรด้านดิจิทัลกว่า 3,700 ราย เล็งขยายความร่วมมือสู่สถาบันการศึกษาอื่นๆ พร้อมชงแผนของบจากรัฐบาลขยายผลต่อเนื่อง

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ต้องเตรียมความพร้อมด้านกำลังคนและบุคลากรดิจิทัล เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

ดังนั้น ดีป้ามีเป้าหมายในการยกระดับกำลังคนดิจิทัลรวม 5 แสนราย ภายใน 4 ปี ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมพื้นฐานการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล 4 แสนรายทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการส่งเสริมพัฒนากำลังคนและบุคลากรดิจิทัลในระดับการใช้งานในสาขาอาชีพ (Digital Professional) ทั้งกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปและกลุ่มวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศระดับผู้เชี่ยวชาญ (Digital Specialist) และ ระดับทักษะที่มีความต้องการเร่งด่วน (High Demand Skill) จำนวน 1 แสนราย ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการด้านการส่งเสริมกำลังคนดิจิทัล ที่เป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

ดร.ณัฐพล กล่าวว่า ล่าสุดดีป้าได้มีความร่วมมือกับภาคการศึกษาจับมือ 10 สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยสยาม และ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ร่วมกันสร้างกำลังคนดิจิทัลกว่า 3,700 ราย

ทั้งนี้ นำร่องตอบโจทย์สร้างความพร้อมด้านกำลังคนดิจิทัลจำนวน 5 แสนรายภายใน 4 ปี ตามแผนงานข้างต้นดังกล่าว จากนั้นเตรียมเสนอของบประมาณกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(กองทุนดีอี) ขยายผลสู่มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ คาดจะสามารถสร้างกำลังคนดิจิทัลได้ตามเป้าระยะยาว

สำหรับโครงการพัฒนากำลังคนดิจิทัล รวม 3,720 ราย โดยแบ่งออกเป็นด้านการสนันสนุนไอที (IT Support) จำนวน 1.4 พันราย ด้านระบบเครือข่าย (Networking) จำนวน 590 ราย ด้าน ดาต้าอนาไลติกส(Data Analytic) จำนวน 300 ราย ด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ (Cyber Security) จำนวน 260 ราย ด้านการเขียนโปรแกรม (Programing) จำนวน 170 ราย ด้านการบริหารจัดการโครงการ (Project Management) จำนวน 150 ราย และด้านการใช้งานดิจิทัลระดับมืออาชีพ 850 ราย ซึ่งทางดีป้ายังวางแผนขยายผลการดำเนินงานไปสู่สถาบันการศึกษาอื่นเพิ่มเติมด้วย

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ดร.ณัฐพล ได้กล่าวถึงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City เป็นวาระสำคัญเร่งด่วนที่รัฐบาลมุ่งเน้น เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญอย่างเท่าเทียม ตามร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 มีคำสั่งฯ แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยมอบหมายสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือดีป้า เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม ในคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าว

สำหรับการพัฒนาเมืองบริบทสำคัญ จำเป็นต้องพัฒนาให้พื้นที่ ประชาชนอยู่ดีและมีประสิทธิภาพ การบริหารจะต้องบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน รวมถึงสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ ด้านคมนาคม ด้านพลังงานและด้านดิจิทัล นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ ให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนและเพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ดำเนินไปอย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพ บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...