ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
ป.ป.ท. แถลงผลการดำเนินงานตรวจสอบทุจริตเงินสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง จำนวน ๗๖ ศูนย์ฯ พบส่อทุจริต 67 จังหวัด ไม่พบทุจริต 9 จังหวัด
02 พ.ค. 2561

         เมื่อวันที่ (วันจันทร์ที่ 30 เมษายน 2561) เวลา 12.00 น. พันโท กรทิพย์ ดาโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. เปิดเผยสรุปผลการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการใช้จ่ายเงินสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่พึ่ง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (ตั้งแต่วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 25๖๑) 
         ซึ่งมีที่มาจาก สำนักงาน ป.ป.ท. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐในกองทัพบก (ทบ.) กรณีเจ้าหน้าที่ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดขอนแก่น ทุจริตเงินสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย เงินสงเคราะห์ผู้ติดเอดส์ โดยสำนักงาน ป.ป.ท. ตรวจสอบพบเป็นกรณีเดียวกับ นักศึกษามหาวิทยาลัยดังภาคอีสาน ถูกสั่งให้ปลอมเอกสารเบิกจ่ายเงินอุดหนุน รวมทั้งสำนักงาน ป.ป.ท. ได้มีคำสั่ง ลับ ที่ 57/2561 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง การใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2560 ประเภทเงินอุดหนุนเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่งของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และคำสั่ง ลับ ที่ 78/2561 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2561 แต่งตั้งคณะทำงานขยายผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2560 ประเภทเงินอุดหนุน ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยที่ 69/2557 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2557 เพื่อขยายผลการตรวจสอบการเบิกจ่ายงบประมาณให้ครอบคลุม
ทั้งกระบวนการ​    
         ​สำนักงาน ป.ป.ท. ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งฯ รวมจำนวน ๗๖ แห่ง จนถึงวันที่ 30 เมษายน  2561 พบความผิดปกติในการเบิกจ่ายงบประมาณ จำนวน ๖๗ จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสระบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดตราด จังหวัดอุดรธานี จังหวัดน่าน จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดสระแก้ว จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดพัทลุง จังหวัดชุมพร จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดลำพูน จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอ่างทอง จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครพนม จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดยะลา จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดพิจิตร จังหวัดราชบุรี จังหวัดเลย จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสกลนคร จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดชัยนาท จังหวัดนครนายก จังหวัดนครปฐม จังหวัดปทุมธานี จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดตาก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา รวมวงเงิน 129,507,000 บาท
         ​นอกจากนี้แล้วยังมีการตรวจสอบไปยังนิคมสร้างตนเองฯ จำนวน ๖ แห่ง สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จำนวน ๑ แห่ง ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จำนวน ๑ แห่ง และศูนย์ประสานงานโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ จำนวน ๑ แห่ง รวมวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น ๑๓๔,๖๙๗,๐๐๐ บาท ประกอบด้วย
• นิคมสร้างตนเอง จำนวน ๖ แห่ง คือ ๑) นิคมสร้างตนเองเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ๒) นิคมสร้างตนเองเชียงพิณ จังหวัดอุดรธานี ๓) นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ๔) นิคมสร้างตนเองห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี 
๕) นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดสตูล และ ๖) นิคมสร้างตนเองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
• สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งภาคใต้จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน ๑ แห่ง
• ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๑ แห่ง
• ศูนย์ประสานงานโครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๑ แห่ง
/โดย ณ วันที่...

​​
​โดย ณ วันที่ 30 เมษายน 2560 สำนักงาน ป.ป.ท. ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการใช้จ่ายเงินสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่งในศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น 76 หน่วยงาน ซึ่งพบความผิดปกติ จำนวน 67 หน่วยงาน รวมงบประมาณทั้งสิ้น 264,204,000 บาท            
​ข้อมูลสรุปสถานะคดีในปัจจุบัน ปรากฏดังนี้
​(1) จากผลการตรวจสอบคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีคำสั่งไต่สวนข้อเท็จจริง 43 หน่วยงาน ประกอบด้วย 
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จำนวน 41 จังหวัด นิคมสร้างตนเองเชียงพิณ จังหวัดอุดรธานี และศูนย์ประสานงานโครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
​(2) ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ จำนวน 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย 
นิคมสร้างตนเองเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ และนิคมสร้างตนเองห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี
​(3) มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้อง จำนวน 189 ราย
​(๔) จังหวัดที่ไม่พบการกระทำที่ส่อไปในทางทุจริตมี จำนวน ๙ จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสิงห์บุรี 
จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนนทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดแพร่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดสุโขทัย
ซึ่งมีพฤติการณ์การกระทำผิดที่ตรวจพบโดยสรุป คือ
   ​(1) การกระทำผิดเกี่ยวกับเอกสาร พบปลอมเอกสารเบิกจ่าย ลงลายมือชื่อปลอม ในแบบสำรวจผู้ประสบปัญหาทางสังคม แบบใบสำคัญรับเงิน (แบบ 5) มีการแก้ไขจำนวนเงิน และให้ลงลายมือรับเงินล่วงหน้า 
มีการเวียนนำรายชื่อมาเบิกเงิน
​(2) การยักยอกเงินสงเคราะห์ โดยผู้มีรายชื่อรับเงินไม่ได้รับเงินหรือได้รับไม่ครบถ้วน
​(3) ผู้มีรายชื่อรับเงินอุดหนุนสงเคราะห์หลายราย ขาดคุณสมบัติเนื่องจากมิได้เป็นผู้มีรายได้น้อยที่
ประสบเหตุเดือดร้อนในการดำรงชีวิต
​  ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ท. จะดำเนินการในระยะต่อไป
​1. ดำเนินการขยายผลการตรวจสอบไปยัง นิคมสร้างตนเอง สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง ศูนย์ประสานงานโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ ที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ท. จำนวน 28 แห่ง งบประมาณรวมทั้งสิ้น 103,816,600 บาท
​2. จัดส่งข้อมูลรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติรับไว้ไต่สวนข้อเท็จจริงให้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ อีกจำนวน 33 ราย เพื่อดำเนินการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 69/2557 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2557 ประกอบมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 
27 มีนาคม 2561
​จากการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณเงินอุดหนุนสงเคราะห์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปรากฏกรณีการทุจริตการใช้จ่ายงบประมาณเงินอุดหนุนสงเคราะห์เป็นต้นมานับแต่ปี พ.ศ. 2551 แต่กลับไม่ปรากฏข้อมูลชัดเจนว่า ได้มีการดำเนินการในกรณีดังกล่าว โดยในการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินอุดหนุนสงเคราะห์ ปีงบประมาณ 2560 สำนักงาน ป.ป.ท. ได้ดำเนินการจากข้อสั่งการและการประสานข้อมูลจาก คสช. และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันนำมาสู่ผลการดำเนินการในวันนี้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...