ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
คปภ. เตือนภัยภัยไซเบอร์ ไวรัส เรียกค่าไถ่ PETYA แรงกว่า Wannacry แย้ม 7 บริษัท มีประกันภัยไซเบอร์
30 มิ.ย. 2560

      ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)  กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของมัลแวร์สายพันธุ์ใหม่ ชื่อ PETYA หรือ Petrwrap ซึ่งเป็นไวรัสประเภทมัลแวร์ เรียกค่าไถ่ (RANSOMWARE) กาลังระบาดทั่วโลก (อเมริกาและยุโรป) อยู่ในขณะนี้ เป็นผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ขององค์กรที่ใช้ระบบปฏิบัติการ MS Windows ติดไวรัสดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากถูกเข้ารหัสลับ Master File Table (MFT) ของพาร์ทิชัน ซึ่งเป็นตารางที่ใช้ระบุตาแหน่งชื่อไฟล์ และเนื้อหาของไฟล์ในฮาร์ดดิสก์ ทาให้ผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ได้

     หากต้องการถอดรหัสต้องจ่ายค่าไถ่เป็นเงิน 300 USD ผ่านอีเมล์ แต่เนื่องจากอีเมล์ดังกล่าวถูกผู้ให้บริการปิดแล้ว จึงทาให้ไม่สามารถจ่ายค่าไถ่ได้ ซึ่งปัจจุบันเกิดผลกระทบกับประเทศต่างๆ ในวงกว้าง สำนักงาน คปภ. ได้ตระหนักถึงผลกระทบจากภัยคุกคามดังกล่าวต่อระบบประกันภัย จึงได้กำหนดมาตรการรับมือภัยคุกคามไว้ 2 มาตรการ คือ ในส่วนขององค์กร ได้จัดทาแนวทางปฏิบัติในการป้องกันไวรัสภายในองค์กร และสั่งการให้ สานักงาน คปภ. ทั่วประเทศ ดาเนินการตามแนวปฏิบัติดังกล่าวอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันภัยคุกคามที่อาจเจาะเข้ามาในระบบของสานักงาน คปภ. สำหรับในส่วนของภาคอุตสาหกรรมประกันภัย สานักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกากับ ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แม้ในขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวในธุรกิจประกันภัย แต่เพื่อเป็นการป้องกันภัยคุกคาม

ทางคอมพิวเตอร์ของภาคธุรกิจประกันภัย จึงได้ประสานไปยังสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย แจ้งเวียนบริษัทสมาชิกให้เฝ้าระวัง และเตรียมการอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การป้องกัน การรับมือกับภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งสื่อสารให้พนักงานและประชาชนทราบแนวทางป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเหมาะสมและขอให้รายงานสถานการณ์เฝ้าระวังภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ต่อ สานักงาน คปภ. เป็นระยะๆ หากได้รับผลกระทบจากภัยดังกล่าว ขอให้แจ้งมายัง สานักงาน คปภ. ทาง E-mail : it@oic.or.th หรือ สายด่วน คปภ. 1186 โดยเร็ว เพื่อประสานให้ความช่วยเหลือ และจะมีการบูรณาการทางานร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อเตรียมการรับมือในเรื่องนี้

    อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเฝ้าระวังจากการถูกจู่โจมหรือคุกคามทางไซเบอร์ สานักงาน คปภ. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ประกันภัยเข้ามารองรับความเสี่ยงดังกล่าว ซึ่งกรมธรรม์ประกันภัยไซเบอร์ในประเทศไทยจะตอบโจทย์ความคุ้มครองที่ครอบคลุม ทั้งค่าเสียหายจากการโจรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ค่าเสียหายจากการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ค่าเสียหายจากการถูกคุกคามทางอิเล็กทรอนิกส์ ค่าเสียหายจากการทาลายทรัพย์สินทางอิเล็กทรอนิกส์ ค่าเสียหายจากการหยุดชะงักของธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ และค่าใช้จ่ายพิเศษและความรับผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งขณะนี้มีภาคธุรกิจประกันภัยที่ได้รับความเห็นชอบแบบกรมธรรม์ประกันภัยไซเบอร์แล้ว 7 บริษัท ประกอบด้วย บจ. เอฟพีจี ประกันภัย (ประเทศไทย) บมจ. ทิพยประกันภัย บมจ. ไทยประกันภัย บมจ.อลิอันซ์ ประกันภัย บจ. นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ สาขาประเทศไทย บจ. เอไอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) และ บมจ. โตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...