ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
ทีพีไอ โพลีน ประสบความสำเร็จ ป้องกันโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในสัตว์
03 มี.ค. 2560

          ทีพีไอ ปราบผลสำเร็จใช้จุลินทรีย์ป้องกันไข้หวัดนก โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในสัตว์ หลายแห่งนำไปใช้แล้วได้ผล ชี้อนาคตมุ่งสู่ธุรกิจ ชีวเคมี มากขึ้น ด้วยทีมวิเคราะห์-วิจัยกว่า 150 คน

          นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแนวทางในอนาคตว่า จะมุ่งไปสู่ธุรกิจ ชีวเคมี  หรือ ไปโอเคมิสตี้ (Biochemistry) มากขึ้น หลังจาก ด้านปิโตรเคมี และธุรกิจการผลิตปูนของบริษัทมีแนวโน้มอิ่มตัว โดยปัจจุบันบริษัทเป็นแห่งเดียวที่ประสบความสำเร็จในการผลิตผลิตภัณฑ์ป้องกันไข้หวัดนกและโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยได้ โดยทีมนักวิเคราะห์ วิจัยของบริษัทที่มีอยู่ถึง 150 คน ได้ค้นพบจุลินทรีย์หลายตัว โดยจุลินทรีย์ส่วนหนึ่งนำมาหมักปุ๋ย อีกส่วนหนึ่งนำมาผสมในอาหารเสริมสำหรับสัตว์ หรือเรียกว่า ซิม ไบโอติค โดยผสมตัวช่วยย่อยอาหารของบริษัทที่ค้นพบลงไปด้วย ซึ่งช่วยให้มีการดูดซึมอาหารได้เป็นอย่างดี และเมื่อระบบย่อยของสัตว์เหล่านี้ดีขึ้น ก็ช่วยให้สัตว์แข็งแรงขึ้น

          “อย่างไก่ ปกติ 2 กิโล ได้เนื้อ 1.5 กิโล ของเรา  2 กิโล ได้เนื้อ 1.7 กิโล เพิ่มขึ้นมาอีก  10 % คือทำให้ไก่หรือหมู แข็งแรงขึ้น ระบบการย่อยดีขึ้น นอกจากนั้น เรายังมีผสม Ph12 เป็นสารอีกตัวหนึ่งซึ่งเป็นด่าง  ที่ไม่กัดเนื้อ ไม่กัดกระเพาะ

          แล้วถ้าพวกไวรัส เจอด่าง Ph12 เข้าไปจะตายภายใน 10 นาที ไม่ว่าจะเป็นไวรัสไข้หวัดนก ไวรัสปากเปื่อยเท้าเปื่อย ตายหมด แต่ตายหมดแล้วก็ต้องเพิ่มภูมิต้านทานเข้าไป ก็คือให้กิน ซิม ไบไอติค นี่เข้าไป เราคุยได้ว่าเป็นบริษัทเดียวที่จัดการไข้หวัดนกได้ และโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยได้”

          นายประชัย กล่าวยืนยันด้วยว่า ปัจจุบันมีฟาร์มหลายแห่งนำไปใช้แล้วได้ผล อาทิ เบทาโกร แหลมทอง ฟาร์มของซีพีบางฟาร์มก็ได้นำไปทดลองใช้แล้ว อย่างล่าสุดกรณีน้ำท่วมทางภาคใต้ ที่กลัวควายติดโรค ก็ขอให้ทางเราช่วยส่งยาพวกนี้ไป ปรากฎว่าควายเหล่านั้นก็ไม่เป็นโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยเลย หรือที่เรณูนครที่มีปัญหาปากเปื่อยเท้าเปื่อย  ก็จัดการได้หมด

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...