ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์ ย้อนกลับ
ทำอย่างไร... ไม่ให้เป็นเหยื่อภัยออนไลน์ จากวิถีโลกใหม่ในธุรกรรมยุคโควิด -19
05 ส.ค. 2564

DigiC : โดย อ.ธวัชชัย สุขสีดา (อ.ตันรัก) วิทยากรตลาดดิจิทัล

ทำอย่างไร... ไม่ให้เป็นเหยื่อภัยออนไลน์

จากวิถีโลกใหม่ในธุรกรรมยุคโควิด -19

อาชญากรรมทางออนไลน์ไม่มีพรมแดน กลายเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ และพัฒนาเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ คนร้ายใช้วิทยาการที่ก้าวหน้า การจัดการกับปัญหานี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย และยังต้องไปอาศัยความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ตามประเภทของอาชญากรรมอีกด้วย

วันนี้ไมต้องถามแล้วว่าจะเราจะตกเป็นเหยื่อโดนแฮกหรือเปล่า แต่ควรถามว่าจะโดนแฮกเมื่อไหร่ดีกว่า  หน่วยงานต่างๆ ควรเปลี่ยนวิธีคิดในการรับมือกับภัยคุกคามทางออนไลน์ จากที่เคยคิดเพียงระบบป้องกันการถูกแฮก ไปเป็นการทำให้ ระบบต่าง ๆ  ยังสามารถทำงานต่อไปได้ แม้จะถูกแฮกไปแล้ว

ซึ่งเหตุผลสําคัญที่มักทําให้คนตกเป็นเหยื่อ คือ ความเชื่อใจ ความโลภ ความไม่รู้และไม่เข้าใจเพียงพอในเรื่องกฎระเบียบ กฎหมาย และวิธีปฏิบัติ ในการทําธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อ
                1. ควรตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหน่วยงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ หรือสามารถขอรับคําปรึกษาได้ที่ศูนย์คุ้มครอง ผู้ใช้บริการทางการเงินก่อนดําเนินการโอนเงิน
                2. ควรติดตามข่าวสาร เกี่ยวกับภัยทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้รู้เท่าทันกลลวงของมิจฉาชีพ
                3. ควรพิจารณาให้รอบคอบ หากได้รับข้อความแจกรางวัลที่มีมูลค่าสูง ให้คิดดูว่าเราเคยได้ร่วมลุ้นรางวัลนั้นหรือไม่ หากไม่เคย ให้สงสัย ได้เลยว่าถูกหลอกแน่
                4. อย่าหลงเชื่อข้อความชักชวนให้เข้าใช้โปรแกรมหรือ เว็บไซต์ที่ไม่รู้จัก เพราะอาจเสียรู้มิจฉาชีพ และสูญเสียเงินได้
                5. อ่านรายละเอียดและตรวจสอบธุรกรรมทุกครั้งก่อนใช้ รหัสผ่านชั่วคราว (OTP) แต่หากคุณได้กลายเป็นเหยื่อของพวกมิจฉาชีพ ไปโดยไม่ทันระวัง สิ่งที่คุณสามารถทําได้หลังจากที่รู้ตัว คือ
                1. เปลี่ยนรหัสผ่านทันที เมื่อบังเอิญคลิกเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ปลอม หรือคลิกลิงก์ที่สงสัยว่ามีโทรจันแฝงอยู่ และไม่ควรใช้รหัสที่ง่ายต่อการ คาดเดา เช่น วัน/เดือน/ปีเกิด

                2. แจ้งความและลงบันทึกประจําวัน และรีบนําหลักฐานโอนเงิน พร้อมหลักฐานการแจ้งความ ไปติดต่อกับ สาขาของสถาบันการเงินเพื่อระงับ การโอนเงิน

                3. แจ้งฝ่ายบริการลูกค้าของผู้ให้บริการธนาคารออนไลน์ หากพบเว็บไซต์ปลอม เพื่อให้ดําเนินการปิดเว็บไซต์ดังกล่าว พร้อมปรึกษา วิธีการใช้งานอย่างปลอดภัย

                4. หากถูกแอบอ้างใช้งานบัญชีอีเมล์ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค (Technical support) ของผู้ให้บริการบัญชี อีเมล์เพื่อเปลี่ยน รหัสผ่าน

                5. ตรวจหาไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมติดต้ังและอัพเดต โปรแกรมตรวจจับไวรัส (Anti-Virus) ที่มีลิขสิทธ์ อย่างสม่ำเสมอ

                ท้ายที่สุดนี้สิ่งที่สําคัญคือ ต้องทําใจกับเงินที่อาจมิได้กลับคืน เพราะ มิจฉาชีพมักรีบโอนเงินออกจากบัญชีทันทีที่ได้รับเงิน ทําให้โอกาส ที่จะได้เงินคืนกลับมามีน้อยมาก ดังนั้นต้องมีสติ อย่าเชื่ออะไรง่าย ๆ และไม่โลภ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...