ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
กรมฝีมือฯชวนผู้ประกอบการฝึกทักษะ/ฝีมือเพิ่มมูลค่าสินค้า
14 ก.ค. 2564

นายธวัช  เบญจาทิกุล  อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยนายสุชาติ  ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และศาสตราจารย์ นฤมล  ภิญโญสินวัฒน์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน มีนโยบายด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน มอบหมายให้ กพร. ดำเนินการยกระดับทักษะฝีมือแรงงานให้เป็นแรงงานคุณภาพใน 3 มิติทั้ง New skill  Re skill และ Up skill  เพื่อให้ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม
ตามมาตรฐานฝีมือ รักษาสภาพการทำงาน และสร้างโอกาสการมีงานทำให้แก่แรงงานทุกกลุ่ม ทั้งแรงงานใหม่ แรงงานที่ถูกเลิกจ้าง ผู้ว่างงาน นักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษาระดับ ปวช. ปวส. และปริญญาตรี รวมถึงส่งเสริมการเพิ่ม
ผลิตภาพแรงงานให้แก่สถานประกอบกิจการอีกทางหนึ่งด้วย
          นายธวัช  กล่าวต่อไปว่า ได้มอบหมายให้ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน (สนพ.) ดำเนินการตามมาตรา 26 ภายใต้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 เชิญชวนให้นายจ้าง และสถานประกอบกิจการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพเพื่อใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกพนักงาน
เข้าทำงาน กำหนดอัตราค่าจ้างและค่าตอบแทนตามทักษะฝีมือ พิจารณาเลื่อนตำแหน่งงาน พัฒนาเป็นหลักสูตรฝึกอบรมซึ่งส่งผลดีต่อสถานประกอบกิจการในแง่ของการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ช่วยลดการสูญเสียในวงจรการผลิต
ลดต้นทุน ลดอุบัติเหตุระหว่างการทำงานได้ โดยขั้นตอนจะทำร่วมกันระหว่างสถานประกอบกิจการกับ สพร.หรือ สนพ.ในการจัดตั้งคณะทำงานในการวิเคราะห์ตำแหน่งงาน จัดทำข้อสอบภาคความรู้ ภาคปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อสอบ จัดทดลองทดสอบให้แก่พนักงาน และเสนอต่อคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เพื่อขอหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพแล้วนำไปใช้ได้ทันที
          ทั้งนี้ เมื่อผู้ประกอบกิจการได้รับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานของตนตามมาตรา 26 แล้ว และได้นำมาตรฐานดังกล่าว ไปใช้ในการทดสอบให้แก่ลูกจ้างของตนในปีที่ผ่านมา มีสิทธิขอรับเงินช่วยเหลือหรืออุดหนุนในแต่ละสาขา ระดับละ 10,000 บาทอีกด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการจัดทำมาตรฐานและนำไปใช้ในการทดสอบให้แก่ลูกจ้างของตน ต่อไป  ซึ่งนอกจากประโยชน์ที่สถานประกอบกิจการจะได้รับแล้ว พนักงานหรือลูกจ้างก็จะได้ทราบระดับทักษะฝีมือ และข้อบกพร่องของตนเองเป็นแนวทางการวางแผนพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและช่วยให้ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม
อีกด้วย ในส่วนของผู้บริโภคเป็นการเพิ่มโอกาสและทางเลือกในการบริโภคสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยตรวจสอบได้จากแรงงานผู้มีทักษะฝีมือ
            “การจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง หากผู้ประกอบกิจการจัดทำ และนำมาใช้วัดระดับทักษะของพนักงาน กรณีที่พนักงานมีทักษะไม่ตรงกับความต้องการ สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนพัฒนาบุคลากรต่อไปได้  จึงขอเชิญชวนสถานประกอบกิจการที่สนใจ เข้าร่วมจัดทำมาตรฐานดังกล่าว สอบถามข้อมูลได้ที่ สพร.  หรือ สนพ. ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือสำนักพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน  02-2451822, 02-6434987 หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4” อธิบดี กพร.กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...