ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน ย้อนกลับ
AMMST-16 : ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอาเซียน
09 พ.ย. 2558

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 16 ASEAN Ministerial Meeting on Science and Technology (AMMST-16)  อย่างเป็นทางการ ณ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)  โดยมีรัฐมนตรีผู้กำกับนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของประเทศในกลุ่มอาเซียน จาก 10 ประเทศ พร้อมทั้งตัวแทนของสำนักเลขาธิการอาเซียน รวมถึงบางหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลายประเทศ  เข้าร่วมประชุมด้วย

นายทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาว กล่าวเปิดการประชุมความว่า ปัจจุบันนี้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลายเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญยื่ง สำหรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละประเทศ  การประชุมครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความพยายามของประเทศสมาชิกอาเซียนในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาสร้างความเจริญให้กับมิตรประเทศในประชาคมอาเซียน

โดยผู้เข้าร่วมประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ รับรองแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 10 ปี (2016-2025) พร้อมกับปรับโหมดการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนแผนไปสู่ปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนและช่วยให้การดำเนินงานของแผนนี้ เดินหน้าไปหร้อมกับการดำเนินงานต่างๆ ภายใต้วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025

ทางด้าน ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กล่าวว่า การเดินทางเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ (AMMST-16)  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมทั้งผลักดันและขยายผลความร่วมมือด้าน วทน. การนำผลงานการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนอาเซียนด้วย

โดยการเยือน สปป.ลาว ครั้งนี้ ดร.พิเชฐฯ ได้มอบโทรทรรศน์เพื่อเป็นสื่อการสอนและการเรียนรู้ดาราศาสตร์ ให้แก่ ศ.ดร.บ่อเวียงคำ วงดาลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง สปป.ลาว จำนวน 1 กล้อง วิทยาลัยแห่งชาติลาว 1 กล้อง และโรงเรียนพอนสะหวัน 1 กล้อง เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาต่อไป

พร้อมนี้ได้มอบหมายให้  รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย เดินทางไป เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technology: COST) ครั้งที่ 70 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนอาเซียนด้วย

“งานใหญ่ของเราอีกงานคือ ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดงาน STI Forum ซึ่งเป็นเวทีหารือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ในเดือนสิงหาคม ปีหน้า เราในฐานะเจ้าภาพก็จะต้องเตรียมงานกันอย่างเข้มข้น”

สิ่งที่ที่ประชุมให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือโครงการ อาเซียนทาเลนท์โมบิลิตี้ (ASEAN Talent Mobility หรือ ATM) ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ในกลุ่มประเทศอาเซียน และระหว่างอาเซียนกับโลก

“วันนี้ อาเซียนเราเข้มแข็งมากครับเป็นโอกาสที่เราจะได้แสดงศักยภาพให้โลกรับรู้ เพื่อประโยชน์ในการประสานความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ในอนาคต”  ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ กล่าวในที่สุด

สำหรับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (S & T) ในภูมิภาคอาเซียน  มุ่งเน้นไปที่ 9 เป้าหมาย คือ  (1) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (2) เทคโนโลยีชีวภาพ (3) อุตุนิยมวิทยาและธรณีฟิสิกส์ (4) วิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยี (5) การวิจัยพลังงานที่ไม่ธรรมดา ( 6) ไมโครอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (7) วัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี (8) เทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ และ (9) S & T โครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาทรัพยากร

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...