ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
รองนายกฯ ตรวจติดตามความกว้าหน้านิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี
05 เม.ย. 2564

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และนายธีรยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กับ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด ที่ได้ลงนามในสัญญาร่วมดำเนินงานเมื่อปี 2557 ภายใต้แนวคิดการเป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการความยั่งยืน เน้นหลักการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความเจริญเติบโตให้กับคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในบริบทพื้นฐานความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความสอดคล้องกับกฎหมาย และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

โดยมีนายจำรัส กังน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี คณะผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ  เอกชน ร่วมให้การต้อนรับและร่วมประชุมหารือ กับรองนายกและคณะผู้บริหารจากส่วนกลาง นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ตั้งอยู่ที่ตำบลโนนสูง อำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี พื้นที่ประมาณ 2,170 ไร่ มูลค่าการลงทุนโครงการฯ ประมาณ 100,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 เฟส โดยเฟสแรกมี 1,325 ไร่ มีแผนพัฒนาพร้อมเปิดดำเนินการในปลายปี 2564 และเฟส 2 จำนวน 845 ไร่ ที่มีแผนจะพัฒนาในช่วงปี 2565 - 2567 โดยอุตสาหกรรมเป้าหมายตามผังแม่บทการใช้ประโยชน์ที่ดินของนิคมฯ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยางพาราขั้นปลาย อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะและประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเหล็กขั้นปลาย ศูนย์โลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเหล็กขั้นปลาย และอุตสาหกรรมสนับสนุนการผลิตในพื้นที่

นอกจากนี้ โครงการฯยังมีพื้นที่อุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล ได้แก่ กลุ่มธุรกิจ SMEs เคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  อุตสาหกรรมชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง และอุตสาหกรรมแห่งอนาคตอื่น ขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการเฟสแรก ในการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภค พื้นที่กว่า 1,300 ไร่ เช่น การพัฒนาถนนและองค์ประกอบถนน งานระบบระบายน้ำฝน งานระบบน้ำเสีย งานระบบประปา ของถนนสายต่าง ๆ ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี รวมระยะทางทั้งสิ้น 5.67 กิโลเมตร ที่ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ 75% ซึ่งตามแผนกำหนดแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2564 รวมถึงการพัฒนาศูนย์โลจิสติกส์ ปาร์ค (Logistics Park) พื้นที่ 600 ไร่ เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางรางและโลจิสติกส์ในภูมิภาค และยังเป็นศูนย์การขนส่งสินค้าไปยังประเทศในกลุ่ม CLMV และจีนตอนใต้ รวมถึงการขนส่งทางรางไปยังท่าเรือแหลมฉบัง และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

ขณะเดียวกันในส่วนของการก่อสร้างอาคารคลังสินค้าให้เช่า ซึ่งอยู่ในแผนการพัฒนาระยะที่ 1 (2564-2565) ล่าสุดอาคารคลังสินค้าทั้ง 3 หลัง รวมพื้นที่ 23,160 ตารางเมตร พร้อมเปิดบริการให้เช่าแล้ว นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีพัฒนาไปแล้วกว่าร้อยละ 70 โดยเฉพาะระบบสาธารณูปโภค-โครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมให้บริการแล้ว  เชื่อหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายและเปิดประเทศได้ตามปกติ สัญญานบวกจากนักลงทุนจะเพิ่มขึ้น

จากความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทย และการที่จังหวัดอุดรธานีอยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEc) ส่งให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นฮับการขนส่ง-โลจิสติกส์ของภูมิภาค "จุดเด่นโครงการฯ คืออยู่ในทำเลที่ตั้งที่เป็นจุดศูนย์กลางของกลุ่มอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง และอยู่ในแนวเส้นทาง One Belt One Road ที่เชื่อมโยงและเป็นประตูระหว่างกลุ่มประเทศ CLMV และจีนตอนใต้ ผ่านเส้นทาง R3A R12 B9 และ B 8 ระบบรถไฟทางคู่กรุงเทพฯ-หนองคาย และล่าสุดโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงที่ 2 ที่จะขยายจากจังหวัดนครราชสีมาถึงจังหวัดหนองคาย เพื่อเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว ที่ขณะนี้โครงการมีความคืบหน้าไปมาก

อีกทั้งยังมีปัจจัยบวกเพิ่มขึ้นจากการที่ประเทศไทยเริ่มมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนในศักยภาพของประเทศด้านการดูแลและป้องกันโรคดังกล่าว และการที่จังหวัดอุดรธานีได้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic  Corridor  : NeEC) และนิคมฯอุดรธานี ได้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ด้วย จึงถือเป็นโอกาสดีที่จะส่งเสริมให้นักลงทุนสนใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพและชักชวนให้เกิดการลงทุนมากขึ้น ทางผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ได้ขอรับการสนับสนุนจากทางรัฐบาลด้วยการขอสิทธิประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ตามประกาศบีโอไอที่ 1/2543 ที่ให้สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคล 8 ปี และสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรอื่นๆ ตามเกณฑ์ที่ตั้ง (Zone Based) ซึ่งเชื่อว่าสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะเป็นแม่เหล็กดูดการลงทุนจากนักลงทุนทั้งชาวไทย และต่างชาติได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ การพัฒนาโครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี เป็นไปตามแนวคิดการพัฒนาเชิงพื้นที่ของเขตเศรษฐกิจ NeEC ที่เน้นความสามารถในการแข่งขันเพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้จะทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในพื้นที่ประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท และเกิดการจ้างงาน (ในนิคมฯ) ไม่ต่ำกว่า 20,000 คน และ 60,000 คน (นอกนิคมฯ) ขณะเดียวกันก็จะมีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นประมาณ 100 โรง สามารถสร้างรายได้ด้านภาษีอากรให้กับภาครัฐได้ถึงประมาณ 1.5-2 หมื่นล้านบาทต่อปีอีกด้วย"

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...