ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีติดตามการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่จังหวัดอุทัยธานี ส่งเสริมการตัดอ้อยสดลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ ตามนโยบายภาครัฐ
13 ก.พ. 2564

ดร.ธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานคณะอนุกรรมการสื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ลงพื้นที่ จ.อุทัยธานีเพื่อติดตามการดำเนินงานตามมาตรการลดฝุ่น PM2.5 เรื่องการรับซื้ออ้อย ไม่ไหม้ไฟ ที่ บริษัทน้ำตาลอุตสาหกรรมบ้านไร่ จำกัด โดยมี นายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี พร้อมด้วยผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาล เกษตรกรชาวไร่อ้อย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เข้ารับฟังแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5

โดย จังหวัดอุทัยธานีมีแนวทางการบริหารจัดการฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ซึ่งแบ่งเป็น 4 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เกษตรกรรม มีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแล พื้นที่ชุมชนที่เผาเศษวัสดุต่างๆ จะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแล และพื้นที่ข้างทางอยู่ในความรับผิดชอบของแขวงทางหลวงทางหลวงชนบทเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเจ้าของพื้นที่  ในส่วนของพื้นที่ป่ามีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ที่ผ่านมามีการติดตาม จุด Hotspot ในช่วงเดือนมกราคมปีนี้กับปีที่แล้วจุด Hotspot ลดลงปริมาณเยอะมากประมาณ 200 กว่าครั้งในเดือนมกราคมบางพื้นที่ปีนี้ในพื้นที่เกษตรกรรมเหลือ 20-30 ครั้ง ส่วนราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทำงานมาตั้งแต่ต้นปีเพื่อเตรียมการ ตัวชี้วัดค่า PM 2.5 ในอุทัยธานีหากมีการบริหารจัดการในพื้นที่โล่งพื้นที่เกษตรกรรมจะไม่มีปัญหาเนื่องจากเรื่องของยานพาหนะมีไม่มาก โรงงานอุตสาหกรรมให้ความร่วมมือ แต่ที่ยังคงมีปัญหาเรื่องของการเผาไร่อ้อยเนื่องจาก เครื่องจักร ในการตัดอ้อยสดมีไม่เพียงพอและเกษตรกรไม่มีกำลังในการจัดซื้อรถตัดอ้อยเนื่องจากมีราคาแพง ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลได้สนับสนุนรถตัดอ้อยให้เกษตรกรและมีการรับซื้อใบอ้อยจากเกษตรกรในราคาตันละ 1,000 บาทเพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า พร้อมกับได้ทำความเข้าใจกับเกษตรกรตั้งแต่ต้นปี ปัญหา PM 2.5 ของจังหวัดอุทัยธานีลดน้อยลง อย่างชัดเจนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าหมายปี การผลิต 2565/66 ไม่เผา 100%

โอกาสนี้ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบัน จ.อุทัยธานี ถือเป็นแบบอย่างให้พื้นที่อื่นได้ แต่มีข้อฝากเป็นพิเศษกรณีหากมีการนำใบอ้อยไปเผาเป็นพลังงานไฟฟ้า ให้ดูระบบการกรองอากาศให้มีประสิทธิภาพไม่เป็นมลพิษด้วย นอกจากนี้ยังฝากให้หาวิธีเพิ่มมูลค่า เศษวัสดุทางการเกษตรมาเป็นรายได้ให้กับเกษตรกร

  จากนั้นเยี่ยมชมการตัดอ้อยในไร่อ้อยของเกษตรกรที่ใช้เทคโนโลยี เครื่องจักรในการตัดอ้อยสด ลดการเผา ซึ่งเกษตรกรบอกว่า นอกจากจะช่วย ลดปัญหาในการขาดแคลนแรงงานตัดอ้อยยังเป็นการลดต้นทุนลงได้โดยรถตัดอ้อยขนาดเล็กสามารถเก็บเกี่ยวอ้อยได้วันละประมาณ 200 ตัน หากใช้แรงงานคนต้องใช้ถึง 40 คน และมีค่าจ้าง แพงกว่าตันละ 100 บาท ด้วยกัน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...