ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
กสม.ดันเลิกโทษประหาร
10 ต.ค. 2559

นายวัส ติงสมิตร ประธาน กสม.กล่าวเปิดการเสวนาว่า สังคมไทยยังมีความสับสนในเรื่องนี้มีทั้งผู้สนับสนุนและคัดค้าน เมื่อมีคดีสะเทือนขวัญเกิดขึ้นก็จะมีการถกเถียงกัน การยกเลิกโทษประหารชีวิตจึงอยู่ที่กระแสสังคม ที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมได้แถลงลดระดับการใช้โทษประหารชีวิตเพื่อนำไปสู่การยกเลิกแล้ว และ กสม.ก็ได้มีรายงานว่าควรยกเลิกโดยดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่วนในทางปฏิบัติได้มีการประหารชีวิตครั้งล่าสุดเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ก็ถือว่าใกล้ยกเลิกในทางปฏิบัติได้แล้ว

ขณะที่นางปิยนุช โคตรสาร ผอ.แอมเนสตี้ฯ กล่าวว่า แม้น่าดีใจว่า 2 ใน 3 ของประเทศทั่วโลกยุติโทษประหารชีวิตแล้ว ในอาเซียนก็มีกัมพูชา และฟิลิปปินส์ แต่ก็น่าเสียใจในปีที่แล้วมี 20 ประเทศได้ใช้โทษประหารมากขึ้นด้วยข้อหาก่อการร้าย หลายประเทศมีการปกปิดข้อมูลการพิจารณาต่อคดีโทษประหาร

ด้านนายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวในการเสวนาว่า ความมุ่งหมายของโทษประหารมีอยู่ 3 ข้อ คือ 1. เพื่อแก้แค้น เป็นความคิดดั้งเดิมของกฎหมายโรมันที่ยึดหลักตาต่อตาฟันต่อฟัน เมื่อมีการทำผิดเกิดขึ้นการจะปล่อยให้ญาติของเหยื่อลุกขึ้นมาทำร้ายผู้กระทำผิดก็จะกลายเป็นความวุ่นวาย จึงให้รัฐเป็นผู้ดำเนินการแทน ต่อมาคนเริ่มรู้สึกทนไมได้ต่อการค้ายาเสพติด ทุกประเทศมีการต่อต้าน จนสังคมคิดว่าโทษประหารชีวิตจะแก้ไขปัญหานี้ได้

2. ประหารชีวิตให้คนกลัว ไม่กล้ากระทำผิด 3. ฆาตรกรโหดเหี้ยม ประหารชีวิตเสียได้จะได้ไม่กลับมากระทำผิดซ้ำอีก เป็นการจำกัดออกจากสังคมให้ถาวร ทั้ง 3 วัตถุประสงค์มีงานวิจัยยืนยันว่าไม่สามารถทำให้คนกลัวแล้วไม่ทำผิด การกำจัดคนทำผิดออกไปจากสังคมยังไม่ถูกต้องตามหลักสิทธิมนุษยชน และหลักศาสนาของทุกศาสนานั้นการฆ่ามนุษย์ถือเป็นบาปหนัก อย่างศาสนาพุทธก็บอกว่าใครฆ่ามนุษย์จะมาบวชก็ไมได้ การทำปิตุฆาต มาตุฆาตจะตกนรก

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...