ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
มท.มีคำสั่งถอดถอนผู้นำท้องถิ่นใน30วันไม่ต้องสอบสวนซ้ำ
27 ม.ค. 2564

รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ชมรมSTRONGต้านทุจริตประเทศไทย ได้นำหนังสือ ปลัดกระทรวงมหาดไทย​ ที่ลงนามแจ้งถึงผู้ว่าราชการจังหวัด​ ทุกจังหวัด ให้รับทราบแนวทางปฏิบัติกรณี​คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) ชี้มูล ความผิดนายกเทศมนตรี​ รองนายกเทศมนตรี​ ประธานสภา และรองประธานสภา ให้ใช้สำนวนไต่สวนของ​คณะกรรมการ​ ป.ป.ช. ให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนออกจากตำแหน่ง​ ภายใน 30 วัน โดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนซ้ำอีก 

ระบุว่า โดยในกรณีดังกล่าวคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทยคณะที่ 1 ได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 6/2560 เมื่อวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 25563 แล้วเห็นว่าตามบทนิยามคำว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ. ศ. 2561 หมายความรวมถึงผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมาตรา 91 (2) บัญญัติว่าเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนแล้วมีมติวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือความผิดที่เกี่ยวข้องกัน ถ้ามีมูลความผิดทางวินัย ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งรายงานสำนวนการไต่สวนเอกสารหลักฐานและคำวินิจฉัยไปยังผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนภายใน 30 วัน เพื่อให้ดำเนินการทางวินัยต่อไป และคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เคยมีความเห็นตามเรื่องเสร็จที่ 30 4/2563 เรื่องสำนักงาน ป.ป.ช. ทบทวนความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา กรณีการดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการตำรวจที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดทางวินัยโดยสรุปว่า คณะกรรมการป.ป.ช. จะสามารถชี้มูลความผิด ที่เกี่ยวข้องได้เพียงใดนั้นย่อมต้องปรากฏว่ามูลความผิดที่เกี่ยวข้องกันจะต้องความสัมพันธ์ในลักษณะเดียวกันกับความผิด 3 ฐานหลัก ที่คณะกรรมการป.ป.ช. ชี้มูลแล้วอันได้แก่

ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ดังนั้นหากเป็นความผิดวินัยฐานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความเป็น 3 ฐานดังกล่าวคณะกรรมการป.ป.ช. ย่อมไม่สามารถมีมติชี้มูลความผิดวินัยได้

กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้การสั่ง ให้ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ประธานสภาท้องถิ่น หรือรองประธานสภาท้องถิ่น พ้นจากตำแหน่งกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดเป็นไปในแนวทางเดียวกันจึงซักซ้อมแนวทางปฏิบัติ​ดังนี้

1. กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ประธานสภาท้องถิ่น และรองประธานสภาท้องถิ่น ว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม อันเป็นการจงใจทอดทิ้ง หรือละเลยไม่ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่อันจะเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ หรือประพฤติตนฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อย และได้ส่งเรื่องให้ดำเนินการตามหน้าที่ และอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริต พ. ศ. 2561 มาตรา 98 วรรค 4 ให้ดำเนินการดังนี้

1.1 กรณี องค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาตามฐานความผิดตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยใช้สำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการปปชเป็นสำนวนการสอบสวนแล้วทำความเห็นและรายงานให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาและสั่งให้พ้นจากตำแหน่งต่อไป

1.2 กรณี เทศบาล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรา 77 วรรค 2 พิจารณาตามฐานความผิดตามที่คณะกรรมการปปชได้มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยใช้สำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นสำนวนการสอบสวนแล้วทำความเห็นและรายงานให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณีพิจารณาและสั่งให้พ้นจากตำแหน่งต่อไป

1.3​ กรณี องค์การบริหารส่วนตำบล ให้นายอำเภอพิจารณาตามฐานความผิดตามที่คณะกรรมการปปชได้มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยใช้สำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นสำนวนการสอบสวนแล้วทำความเห็นและรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาและสั่งให้พ้นจากตำแหน่งต่อไป

1.4​ กรณี เมืองพัทยา ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีพิจารณาตามฐานความผิดตามที่คณะกรรมการปปชได้มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยใช้สำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นสำนวนการสอบสวนแล้วทำความเห็นและรายงานให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาและสั่งให้พ้นจากตำแหน่งต่อไป

2. กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดฐานอื่นโดยไม่มีความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมการสอบสวนในเรื่องนี้จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงการสอบสวนผู้ดำรงตำแหน่งบางตำแหน่งในองค์การบริหารส่วนจังหวัดพศ2563 กฎกระทรวงการสอบสวนผู้ดำรงตำแหน่งบางตำแหน่งในเทศบาลพศ2563 กฎกระทรวงการสอบสวนผู้ดำรงตำแหน่งบางตำแหน่งในองค์การบริหารส่วนตําบลพศ2563 และกฎกระทรวงการสอบสวนผู้ดำรงตำแหน่งบางตำแหน่งในเมืองพัทยาพ.ศ 2563 แล้วแต่กรณี

จึงเรียนมาเพื่อทราบและขอให้จังหวัดแจ้งนายอำเภอทราบด้วย

ลงชื่อ นายฉัตรชัย​ พรหมเลิศ

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...