ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
กรมทรัพย์สินฯเร่งพัฒนาสินค้าจีไอพร้อมขายใน/ตปท
27 ม.ค. 2564

นายประโยชน์ เพ็ญสุต รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมฯ จะเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศให้หันมาบริโภคสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) เพิ่มขึ้น โดยจะลงพื้นที่ช่วยผู้ประกอบการจัดทำระบบควบคุมตรวจสอบคุณภาพสินค้าจีไอตลอดทั้งปี 64 แยกเป็นระบบควบคุมภายใน 8 สินค้า ใน 7 จังหวัด ได้แก่ ผ้าฝ้ายทอผสมขนแกะบ้านห้วยห้อม แม่ฮ่องสอน ส้มบางมดและลิ้นจี่บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ นครสวรรค์ ปลาช่อนแม่ลาสิงห์บุรี ข้าวไร่ดอกข่าพังงา พังงา มะพร้าวทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ กล้วยหอมทองปทุม ปทุมธานี และระบบควบคุมตามมาตรฐานสากล 6 สินค้า จาก 5 จังหวัด ได้แก่ กาแฟดอยช้าง เชียงราย ส้มสีทองน่าน น่าน หมากเม่าสกลนคร และน้ำหมากเม่าสกลนคร ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์

ทั้งนี้ กรมฯ จะคัดเลือกผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์จีไอ เข้าร่วมโครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดยออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการ 10 ราย ได้แก่ กาแฟเมืองกระบี่ นิลเมืองกาญจน์ กล้วยเล็บมือนางชุมพร แปจ่อเขียวแม่สอด ผ้าหม้อฮ่อมแพร่ ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ส้มโอหอมควนลัง สังคโลกสุโขทัย ปลาแรดลุ่มแม่น้ำโขงสะแกกรัง และข้าวหอมมะลิอุบลราชธานี เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์สินค้าจีไอ ให้ตรงกับความต้องการของตลาด ยกระดับให้เป็นสินค้าชุมชนเป็นสินค้าระดับพรีเมียม ซึ่งจะช่วยให้ขายของได้ราคาดีขึ้น

นายประโยชน์กล่าวว่า เมื่อผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้า จีไอ จัดทำระบบควบคุมตรวจสอบคุณภาพ และผ่านการตรวจประเมินโดยคณะกรรมการจังหวัดหรือหน่วยตรวจสอบรับรองแล้ว จะสามารถขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์จีไอไทยได้ ซึ่งมีอายุคราวละ 2 ปี และเมื่อครบกำหนดการอนุญาตต้องดำเนินการตรวจสอบควบคุมคุณภาพสินค้า ตามระบบอีกครั้ง เพื่อขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ต่อไป โดยปัจจุบัน กรมฯ ได้ออกหนังสืออนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์จีไอไทยแล้ว 237 ครั้ง 109 สินค้า มีผู้ได้รับอนุญาต 5,364 ราย แต่มีผู้ได้รับอนุญาตที่ยังคงใช้ตราสัญลักษณ์จีไออยู่ 3,113 ราย

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...