ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
ราชกิจจาฯ เผยแพร่ข้อกำหนด 'พรก.ฉุกเฉิน' ฉบับที่ 15 ห้ามชุมนุม-มั่วสุม
26 ธ.ค. 2563

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 15) มีเนื้อหาว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 8 จนถึงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 นั้น โดยที่รัฐบําลได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันและระงับยับยั้งการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด -19) มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวได้ผลดีขึ้นเป็นลำดับ

อย่างไรก็ตาม เมื่อปัจจุบันพบการระบาดของโรคระลอกใหม่ขึ้นในบางเขตพื้นที่ รัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการกระชับและยกระดับบรรดามาตรการต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อเข้าแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันมิให้เกิดการระบาดลุกลามเป็นวงกว้างต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกรัฐมนตรี จึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย ได้แก่

ข้อ 1 การห้ามใช้หรือเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดโรค ข้อ 2 การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค ข้อ 3 การห้ามชุมนุม ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นกํารยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยข้อ 4 มาตรการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว ข้อ 5 การปฏิบัติและบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค และ ข้อ 6 การประสานงาน เป็นต้น ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2563 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2563

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...