ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ขีดแข่งขันดิจิทัลไทยดีขึ้นหนึ่งอันดับ “พุทธิพงษ์”พร้อมแร่งดินหน้าทุกด้าน
22 ต.ค. 2563

“ไอเอ็มดี” เผยขีดแข่งขันด้านดิจิทัลไทยเพิ่มขึ้นหนึ่งอันดับ รั้งอันดับที่ 39 จากปี 62 อยู่ในอันดับที่ 40 ด้วยสองเหตุผลหลัก "ปัจจัยด้านเทคโนโลยี" และ “ปัจจัยด้านความพร้อมรองรับอนาคต”ได้คะแนนดี ขณะที่ ต้องเร่งยกระดับองค์ทักษะดิจิทัลเพิ่ม ชี้ยังเป็นจุดด้อยสำคัญของไทย ด้าน “พุทธิพงษ์” เร่งเดินหน้าพัฒนาดิจิทัลทุกด้านให้ก้าวทันระดับโลก 

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development: IMD) ประกาศผลการจัดอันดับความสามารถการแข่งขันด้านดิจิทัลของเขตเศรษฐกิจทั่วโลก (IMD World Digital Competitiveness Ranking) ประจำปี 2563 ประเทศไทยถูกจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลอยู่ในอันดับที่ 39 จาก 63 ประเทศ ดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา 1 อันดับ

ขณะที่ อันดับ 1 ของโลกยังเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา รองลงมาคือ สิงคโปร์ เดนมาร์ก สวีเดน ฮ่องกง สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ นอร์เวย์ และฟินแลนด์ ตามลำดับ ตามรายงานของไอเอ็มดี ระบุว่า ปี 2563 เป็นปีที่ท้าทายสำหรับโลก ทุกชีวิต ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ขณะที่เทคโนโลยีถูกหลวมรวมเข้าด้วยกัน เพื่อแก้ไขวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคในมิติที่แตกต่างกัน ตั้งแต่การสื่อสารไปจนถึงการตรวจสอบ การประเมิน และหวังว่าในอนาคตอันใกล้ โลกจะพบวิธีการรักษาโรคนี้

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทุกประเทศจะสามารถรักษาอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ เนื่องจากการที่ประเทศต่างๆ จะรักษาอันดับความสามารถการแข่งขันให้คงที่ หรือถูกจัดอันดับให้ดีขึ้นเพียง 1 อันดับ เป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะนั่นหมายถึงการที่ประเทศนั้นต้องเร่งพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลทุกด้านให้ก้าวหน้าเท่าทันกับประเทศอื่น ซึ่งล้วนยกให้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นแกนหลักสำคัญ (Backbone) ในการขับเคลื่อนประเทศ

ทั้งนี้ การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลนั้น ไอเอ็มดี ประเมินจากปัจจัยหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านองค์ความรู้ (Knowledge) 2. ด้านเทคโนโลยี (Technology) และ 3. ด้านความพร้อมรองรับอนาคต (Future readiness)

ปัจจัยหลักที่ดีขึ้นและช่วยยกอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ได้แก่ ปัจจัยด้านเทคโนโลยี และปัจจัยด้านความพร้อมรองรับอนาคต โดยปี 2563 ดีขึ้นจากปีที่ 2562 อย่างก้าวกระโดดถึง 5 อันดับ ทั้ง 2 ปัจจัย โดยอยู่ในอันดับที่ 22 และอันดับที่ 45 ตามลำดับ สะท้อนความสำเร็จในการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมผ่านกองทุนดีอี การผลักดันเมืองอัจฉริยะ (Smart City) การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5จี และโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล การเตรียมความพร้อม Disruptive Technology ให้กับภาคส่วนต่างๆ ของประเทศไทย รวมถึงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐสู่การที่ทุกภาคส่วนสามารถนำข้อมูลภาครัฐไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต และการผลักดันนโยบายและแผนด้านดิจิทัลในประเด็นต่างๆ

"สำหรับปัจจัยหลักด้านองค์ความรู้ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 43 ซึ่งเป็นอันดับเดิมของปีที่ผ่านมา แต่ไม่ได้หมายความว่า ประเทศไทยไม่ได้พัฒนาด้านองค์ความรู้ แต่หมายถึง เราพัฒนา แต่เป็นแรงขับเคลื่อนที่คงตัว ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ชี้เป้าให้ประเทศไทยจะได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาปัจจัยดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น" นายพุทธิพงษ์ กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...