ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
ทิศทางการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ “ยกที่ 1” ภายใต้แผนAction plan 20 ปี
05 ก.ย. 2559

          ปัญหาการลักลอบตัดไม้และการบุกรุกพื้นที่ป่า อันสืบเนื่องมาจากความไม่ชัดเจนของนโยบายทางการเมืองและความไม่พร้อมในเรื่องงบประมาณและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ ทำให้ป่าไม้ในเมืองไทยหลายแห่งตกอยู่ในสภาพเขาหัวโล้น แต่เมื่อมาถึงยุครัฐบาลคสช. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้กำหนดนโยบายออกมาอย่างชัดเจนที่จะพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้เข้มข้นยิ่งกว่าเก่า  ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรีบเร่งมือปฏิบัติและแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง

          เพื่อให้เห็นถึงทิศทางการดำเนินงานของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช“อปท.นิวส์” ได้มีโอกาสเข้าพบและสัมภาษณ์ ดร.ทรงธรรม สุขสว่าง ผู้ตรวจราชการกรม และผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ ในฐานะที่เข้ามาทำหน้าที่ดูแลและพัฒนาการบริหารจัดการต่างๆ  ของอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ  ตามนโยบายของ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และตามคำสั่งของ นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

  • เมื่อนโยบายชัด แผนปฏิบัติก็ยิ่งชัด

          ดร.ทรงธรรม สุขสว่าง ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กล่าวว่า นโยบายที่ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มอบหมาย คือ การดำเนินการให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการอุทยานแห่งชาติแบบบูรณาการในระยะ20 ปีซึ่งกรมอุทยานฯ ต้องทำให้เกิดผลในทางปฎิบัติ ตั้งแต่การดูแลรักษาทรัพยากรระบบนิเวศน์ ความหลากหลายทางชีวภาพ มีการจัดทำแผนงานต่างๆ ขึ้นมารองรับ เช่นการลาดตระเวนแผนใหม่ การพัฒนาการติดตามประเมินผล ติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ การนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ และปรับปรุงฐานข้อมูลต่างๆ ให้ทันสมัย และจะต้องเร่งปราบปรามผู้กระทำความผิดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลักลอบตัดไม้พะยูง ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนวิธีการและดึงมวลชนเข้าร่วมทำงาน โดยใช้ยุทธวิธี “จับก่อนตัด”

          ส่วนในเรื่องปัญหาการบุกรุกที่ดินในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ ก็ได้มีการตั้งคณะกรรมการการตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแล้ว และมีการประชุมคณะกรรมการชุดนี้ทุกๆ 3 เดือน โดยเฉพาะปัญหาเขาหัวโล้น ตามแผนมีโครงการฟื้นฟูทั้ง 13จังหวัดทางภาคเหนือ ซึ่งทางรัฐมนตรีว่าการทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ให้เร่งฟื้นฟูไปพร้อมๆกันทั่วประเทศ  ทั้งนี้ในส่วนของกรมอุทยานแห่งชาติ ได้มีการจัดตั้ง“ศูนย์เป็นเลิศ” เพื่อดำเนินการป้องกันดูแลรักษาพื้นที่อุทยานแห่งชาติในมิติต่างๆ

          “ต่อไปนี้เราจะมีการจัดอันดับการทำงานของหัวหน้าอุทยานฯทั่วประเทศ ให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม กับหัวหน้าอุทยานฯ หากใครทำงานดีตามนโยบายที่รัฐมนตรีและอธิบดีกรมอุทยานฯ มอบหมาย ก็จะได้บริหารจัดการพื้นที่นั้นๆ ต่อไป แต่หากพบว่าหัวหน้าอุทยานฯคนไหน ทำงานไม่ได้ตามเป้าหมาย ก็จะถูกพิจารณาปรับย้าย เพื่อเอาคนที่เป็นงานกว่า มานั่งทำหน้าที่แทน”

  • พัฒนาอุทยานฯ เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

          สำหรับด้านการท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาตินั้น จะต้องได้มาตรฐานของความเป็นเลิศ สร้างระบบมาตรฐานการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ โดยมีการจัดการ “สื่อความหมาย”เริ่มดำเนินการนำร่องที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ปัญหาที่พบอีกอย่าง ปัญหาขยะ น้ำเสีย จะต้องมีการบริการจัดการใหม่และเข้มงวดมากขึ้นเนื่องจากเป็นภาพลักษ์ต่อการท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมายจะเริ่มต้นที่อุทยานแห่งชาติ10 แห่ง ที่มีนักท่องเที่ยวเข้าไปใช้บริการเป็นจำนวนมาก และสร้างผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยจะทำอย่างจริงจัง และต้องเร่งปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เสื่อมโทรมมากซึ่งจะมีการกำหนดการบูรณากันใหม่อีกครั้ง

          “ทั้งนี้อุทยานแห่งชาติทุกแห่งจะต้องเร่งดำเนินการบริหารจัดการให้เป็นระบบ ถ้าหัวหน้าอุทยานคนไหน ยังทำงานรูปแบบเดิมๆต้องปรับย้ายเอาคนทำงานเป็นเข้าไปทำหน้าที่แทน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐมนตรีฯและอธิบดีกรมอุทยานฯ ได้สั่งการลงมา”

          ดร.ทรงธรรมกล่าวอีกว่า เรื่องที่สำคัญมากอีกเรื่องหนึ่งในตอนนี้ คือ ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว กรมอุทยานจึงได้เร่งรัดจัดตั้ง “หน่วยกู้ภัย” ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว และเร่งติดตั้งกล้องวงจรปิดตามอุทยานฯต่างๆ ให้ทั่วถึง พร้อมทั้งเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่หาข่าวและหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ออกลาดตระเวนกันตลอด 24 ชั่วโมงที่สำคัญคือหน่วยระบบเตือนภัย ซึ่งได้เร่งรัดให้หัวหน้าอุทยานฯทั่วประเทศ จัดเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องไม้ เครื่องมือลงพื้นที่ตรวจสอบและรายงานเหตุการณ์ทาง“ไลน์”ตลอดเวลา

          “หลังจากนี้อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศก็จะมีศูนย์กู้ภัยโดยตอนนี้ได้เราจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปจัดฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่าแล้ว พร้อมนี้ก็ได้ร่วมมือกับมูลนิธิฯต่างๆเข้ามาร่วมกู้ภัยให้กับประชาชนด้วย ตรงนี้ถือเป็น CSRของกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช”

          ดร.ทรงธรรม กล่าวว่า ในเรื่องของการส่งเสริมการท่องเที่ยวกรมอุทยานฯ ได้ร่วมกับชาวบ้านในชุมชนโดยรอบเขตอุทยานแห่งชาติ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูและบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติด้วย โดยสร้างเครือข่ายในรูปแบบ“เพื่อนโครงการอุทยานแห่งชาติ” และ“อาสาสมัครพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ” ทั้งนี้ ได้กำชับให้อุทยานแห่งชาติทั้ง150 แห่งจะต้องมีเครือข่ายทุกแห่งส่วนกรณีการสร้างบ้านพักในเขตอุทยานฯนั้น คงจะไม่มีการก่อสร้างเพิ่มเติมอีกแล้ว แต่จะเร่งปรับปรุงของเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้นโดยจะเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ เช่น เรื่อง เต้นท์ให้เช่า หรือสถานที่สำหรับกางเต้นท์มากกว่า ขณะเดียวกันก็จะสนับสนุนให้ชุมชนหรือภาคเอกชนสร้างที่พักแรมในลักษณะที่เป็น “รีสอร์ท” นอกเขตอุทยานแห่งชาติ

          “ต่อไปนี้ ศูนย์บริการการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติ จะได้รับการพัฒนาขึ้นให้เป็น“ศูนย์เป็นเลิศ” อย่างยั่งยืนทั่วทุกอุทยานฯปัจจุบันมีการปรับปรุงเพื่อนำร่องไปก่อนแล้ว50 แห่ง จากทั้งหมด 150แห่งและสำหรับในความเป็นเลิศนั้น ต้องเป็นเลิศในด้านบริหารจัดการและการบริการให้ได้”

          ดร.ทรงธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมอุทยานฯยังจัดให้มีการฝึกอบรม เสริมสร้างองค์ความรู้แก่พี่น้องประชาชนผ่านการวิจัยพัฒนา เพื่อสร้างผู้นำการท่องเที่ยวและสร้างคุณค่าเพิ่มเพื่อการท่องเที่ยว เช่น อุทยานแห่งชาติบางแห่งมีนกที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ ไม่มีที่ไหนในโลก ก็จะนำมาสร้างคุณค่าให้ผู้คนเข้ามาดู มาศึกษา ซึ่งในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพื่อการนี้มากมายและจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัย หรือ สถาบันการศึกษาในพื้นที่นำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้เพื่อการอนุรักษ์ด้วย

          นอกจากนี้ ก็จะส่งเสริมความรู้ ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญของป่าไม้และสัตว์ป่าที่อุดมสมบูรณ์ในเขตอุทยานฯ จะได้ไม่มีการบุกรุกป่า ล่าสัตว์ ตัดไม้ และเข้ามาร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ซึ่งขระนี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน รวมทั้งได้รับเงินบริจาคจากภาคเอกชนกว่า 10 ราย ที่เข้ามาใช้บริการภายในเขตอุทยานแห่งชาติ และร่วมกันปลูกป่าไปแล้ว กว่า 3หมื่นไร่

          “กรมอุทยานฯจะเร่งดำเนินการตามนโยบายของรัฐมนตรีคือ การสร้างความโดดเด่นของตัวอุทยานแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศ เท่าที่ดูตัวเลขในปีที่ผ่านมาพบว่ามีนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้ามายังอุทยานแห่งชาติกว่า10ล้านคน ขณะที่อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศมีรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการต่างๆปีหนึ่งๆประมาณ1 พันกว่าล้านบาท แต่เราสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และประเทศชาติ อย่างน้อย 36,000 กว่าล้านบาท จนถึง 50,000 ล้านบาทขึ้นไป และรายได้นี้ ในอนาคตก็จะมากกว่านี้อีก จากการดำเนินการภายใต้Action planใน 20 ปีนี้”

  • การบริหารอุทยานและการบริหารบุคลากร

          สำหรับการบริหารอุทยานและการบริหารบุคลากรนั้นเพื่อให้งานบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ ก้าวไปข้างหน้าด้วยการบริหารจัดการที่ดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กำชับให้กรมอุทยานฯ เร่งจัดการจัดอันดับการทำงานของ หัวหน้าแต่ละอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ และจัด“เกรดอุทยานแห่งชาติ”ตั้งระดับตั้งA-B-C พร้อมกับการคัดเลือกผู้ที่เป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาติว่าจะต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิ์ภาพมากขึ้น โดยจะต้องเก่งและมีความรู้ ส่วนผู้ที่ทำงานแบบเดิมๆ ก็คงต้องปรับย้ายให้เหมาะสม

          ต่อไปผู้บริหารอุทยานฯ จะต้องผ่านการอบรมจากศูนย์ประชารัฐ โดยจะมีหลักสูตรอบรม หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ และหลักสูตรเจ้าหน้าที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เรียกว่า ปรับแผนกันทั้งระบบ แต่จะไม่มีการไปย้ายคนโดยไม่มีการประเมิน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้กำชับลงมาแล้ว

          “โดยนโยบายการทำงานรูปแบบใหม่ เมื่อสิ้นปีงบประมาณนี้ ก็จะมีการประเมินผลการทำงานของหัวหน้าอุทยานฯแต่ละราย และรายงานให้อธิบดีกรมอุทยานฯ ได้ทราบ เพื่อแต่งตั้งโยกย้ายคนที่เหมาะสมและมีประสิทธิ์ภาพเข้าไปทำงานและทำหน้าที่ต่อไป”

          ดร.ทรงธรรม กล่าวทิ้งท้ายถึง “หัวใจการทำงาน”ว่า “ทำงานต้องมีประสิทธิ์ภาพ ทำงานโปร่งใส ตรวจสอบได้และนี่คือคำให้สัมภาษณ์ของ“ดร.ถัง” ผู้ซึ่งจะนำพาอุทยานแห่งชาติ 150 แห่งก้าวไปสู่ความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการ และสร้างเงินหมุนเวียนเข้าประเทศไทยนับหมื่นล้านในอนาคต 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...