ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจับมือ มจพ. ติวเข้มผู้ประกอบการหนุนนวัตกรรมลอร่าลุยธุรกิจ
16 ก.ย. 2563

เมื่อเร็วๆนี้กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(มจพ.) ดำเนินการจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพทางธุรกิจและความเข้มแข็งของเครือข่าย ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ผ่านหลักสูตร ONLINE AUTOMATION TRAINING ภายใต้หัวข้อ “การประยุกต์ใช้ COMMUNITY LORA TECHNOLOGY เพื่อเพิ่มผลิตภาพและสร้างนวัตกรรมในอุตสาหกรรม” จำนวน 50 ราย เป็นอบรมเชิงปฏิบัติการ 5 รูปแบบ จำนวน 30 ชั่วโมง เน้นการใช้งานลอร่า (LoRa) ที่มาจากความต้องการการสื่อสารไร้สายที่สามารถครอบคลุมได้กว้างไกล โดยใช้พลังงานต่ำให้กับผู้ประกอบการด้านต่างๆ ได้แก่ ผู้ประกอบการกลุ่มหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมบริการ อุตสาหกรรมการแพทย์ ฯลฯ

 คุณวีรพล มนัสตรีนาท วิศวกรโรงพยาบาลศิริราชและผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เล่าว่า “เหตุผลในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติครั้งนี้ ทางโรงพยาบาลศิริราชมองเห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีลอร่า ที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานด้วยกันระหว่างแพทย์ พยาบาลกับผู้ป่วยของโรงพยาบาล เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถส่งข้อมูลราบละเอียดต่างๆของผู้ป่วยผ่านเทคโนโลยีลอร่ามายังโรงพยาบาล โดยที่คนไข้หรือผู้ป่วยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาพบแพทย์ด้วยตนเอง สามารถประหยัดเวลาและลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือได้ว่าการนำเทคโนโลยีลอร่ามาประยุกต์งานบริการภายในโรงพยาบาลจะช่วยสร้างประโยชน์การใช้งานให้กับทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

 คุณวุฒิพงษ์ โชคศุภจินดา เจ้าของกิจการเจ้าสัวขาหมูเมืองทอง และผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เล่าว่า “สาเหตุการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ เนื่องจากผมเองไม่ได้อยู่ในโรงงานทุกขั้นตอนกระบวนการผลิต ทำให้อยากได้เทคโนโลยีมาใช้ตรวจสอบในกระบวนการผลิต เพื่อนำเทคโนโลยีลอร่าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต ตลอดจนดูแลขั้นตอนการผลิตด้วยเทคโนโลยีลอร่า ระยะไกล สามารถควบคุมการทำงานผ่านเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ขั้นตอนการผลิตอยู่ในกระบวนการใด อุณหภูมิจำนวนเท่าไร เหลือเวลาในกระบวนการทำขาหมูให้เสร็จนานเท่าไร ฯลฯ  นอกจากนี้ผู้ประกอบการสามารถนำเทคโนโลยีไปต่อยอดในธุรกิจควบคู่กับข้อมูลมี่ถูกพัฒนาคู่กับเทคโนโลยีครั้งนี้ ซึ่งถือได้ว่าโครงการนี้สามารถช่วยผู้ประกอบการขับเคลื่อนสู้กับวิกฤตโควิด – 19 หลังจากนี้ได้ในระดับน่าพอใจ” 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...