ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
“มนัญญา” เล็งปลดล็อคพืชสะเดา เป็นสารชีวภัณฑ์ ไม่ต้องขึ้นทะเบียน
16 ก.ค. 2563

รมช.มนัญญา เดินหน้าเปิดทางเกษตรกรใช้สารชีวภัณฑ์ สารอินทรีย์ จากภูมิปัญญาท้องถิ่น สั่งย้ายบัญชี วอ.2 เป็น วอ.1 เพื่อใช้ในแปลงเกษตรได้ หวังดันไทยเป็นครัวโลก ยกสะเดาเป็นแม่แบบ ตั้งเป้าเสร็จภายในเดือน ก.ค.

น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่ากากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรทำรายละเอียดในการปลดล็อคผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรตามภูมิปัญญาไทยที่ถูกคุมไว้ในบัญชีวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือ วอ.2 เช่น สะเดา หรือจุลชีพของไทย มาอยู่ใน วอ.1 เพื่อให้เกษตรกรที่ประสงค์จะใช้ แค่แจ้งกรมวิชาการเกษตรเพื่อทราบเท่านั้น โดยต้องการให้ภูมิปัญญาไทยเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้เป็นครัวของโลกได้ โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีกำจัดแมลงที่นำเข้าเพียงทางเดียว ซึ่งให้เวลาในการดำเนินการ 2 สัปดาห์ และสามารถขับเคลื่อนได้ภายในเดือน ก.ค.นี้

ทั้งนี้ การกำหนดให้สารชีวภัณฑ์และสารอินทรีย์ที่ใช้ทางการเกษตรในบัญชีบัญชี วอ.2 มาเป็น วอ.1 จะเป็นการเปิดทางเบื้องต้นเพื่อให้เกษตรกร ประชาชนหรือคนไทยทั่วไป และคนรุ่นใหม่ๆ สามารถคิดค้นพัฒนาสูตรต่างๆ ทางการเกษตรหรือสารอินทรีย์หรือสารชีวภัณฑ์เพื่อใช้ในแปลงเกษตรกรได้เพิ่มชนิดมีความหลากหลายมากขึ้น และเพื่อลดความกังวลของเกษตรกรที่มีการผลิตสารกำจัดแมลงเพื่อใช้กันเองในครัวเรือนหรือเป็นการทั่วไป โดยไม่ต้องกังวลว่าจะผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วัตถุอันตราย

"ประเทศไทยมีสมุนไพรกำจัดแมลงหรือวัชพืชหลายชนิด เช่น สารกำจัดแมลงที่นิยมคือสะเดา แต่ก็ปรากฏว่าสะเดาถูกจัดไว้ในบัญชีวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือ วอ.2 ซึ่งอาจจะค้านกับความรู้สึกของคนไทย โดยทางวิชาการท้วงติงเรื่องความเข้มข้นหรือยกอุปสรรคต่างๆ มาทำให้การใช้ยากลำบาก และเกษตรกรต้องมีการแจ้ง มีการขึ้นทะเบียน ซึ่งเห็นว่า เมื่อภูมิปัญญาไทยของเรามี ราชการมีหน้าที่อำนวยความสะดวก จะได้มีการนำมาใช้และเป็นการส่งเสริมสมุนไพรของบ้านเราด้วย ส่วนจะใช้สัดส่วนหรือปริมาณอย่างไร ฝ่ายวิชาการก็ทำหน้าที่ แต่ไม่ใช่ปิดกั้นหรือห้าม ทำให้เกษตรกรไทยต้องพึ่งพาแต่ของต่างชาติ ต้องนำเข้าเพียงทางเดียว อนาคตเราอาจจะมีสารสกัดจากพืชชนิดเยี่ยมก็เป็นได้ ลดการเสียดุลทางการค้าและลดสารเคมีตกค้างในร่างกาย" น.ส.มนัญญา กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในเอกสารเผยแพร่ของกรมวิชาการเกษตร ระบุว่า วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ไม่มีวัตถุอันตรายที่กรมวิชการฯรับผิดชอบ ส่วนวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 คือวัตถุอันตรายที่การผลิต นำเข้า ส่งออก และมีไว้ในครอบครอง จะต้องขึ้นทะเบียนและแจ้งดำเนินการกับกรมวิชาการเกษตรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด อาทิ สารชีวภัณฑ์ เช่น บาซิลลัส ทูริงเยนซิส สารควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง ไวต์ออยล์ หรือรีไฟน์ ปิโตรเลียมออย์ ผลิตภัณฑ์สารสกัดจากพืชเช่น สะเดา สารสำคัญหรือจุลชีพ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสำคัญหรือจุลชีพที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการป้องกัน กำจัด ทำลาย ควบคุมแมลงหรือสัตว์ที่เป็นศัตรูพืช โรคพืช วัชพืช และการควบคุมการเจริญเติมโตของพืช ในการขออนุญาตกรณีชนิดที่ 2 ต้องแจ้งการประกอบกิจการ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...