ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
ปริญญ์ ชี้โลกหลังโควิด-19 ไม่ใช่แค่ New Normal แต่จะ No Normal จากนี้ไปจะไม่เหมือนเดิม ทุกภาคส่วนต้องปรับตัว
30 พ.ค. 2563

นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจทันสมัย ขึ้นเวทีเสวนา ‘ซัพพลายเชนโลก การค้าระหว่างประเทศ และโลกาภิวัตน์ที่กำลังกลายพันธุ์’ ในงานเสวนา THE STANDARD ECONOMIC FORUM ร่วมกับสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF 

เนื้อหาสำคัญที่นายปริญญ์ กล่าวไว้ในเวทีเสวนาคือ ในยุค digital transformation บวกกับสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ วิกฤตสาธารณสุขได้กลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ ต่อจากนี้โลกาภิวัตน์จะเปลี่ยนไป ไม่ใช่แค่ New Normal แต่เรียกว่า No Normal จากนี้ไปจะไม่เหมือนเดิม เกิด new globalization ทุกภาคส่วนต้องปรับตัว มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้ เช่น Super platforms ต่าง ๆ ในขณะที่โลกการค้าระหว่างประเทศ หากประเทศไทยต้องการแข่งขันได้ ต้องมีโมเดลที่รัฐสนับสนุนให้ธุรกิจไทยสามารถออกไปต่างประเทศได้ง่ายขึ้น เช่น จัดตั้งองค์กรที่สนับสนุนภาคธุรกิจผ่านการบุกตลาดต่างประเทศร่วมกันเป็นเครือข่าย ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนมีข้อมูลเพื่อปรับใช้กับธุรกิจ รวมถึงมีอำนาจการต่อรองในการทำธุรกิจกับต่างชาติได้มากขึ้น ต้องมองหาตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ ซึ่งอาจจะเบนเข็มไปจากเดิม อาทิ ลาตินอเมริกา แอฟริกา ตะวันออกกลาง ที่ประชากรเยอะและมีกำลังซื้อสูง

บริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติจะกระจายความเสี่ยง ต้องปรับห่วงโซ่อุปทานให้มาเป็นแบบ Localize และสร้างเป็นคลัสเตอร์แต่ละอุตสาหกรรมมากขึ้น ทั้งนี้รัฐสามารถใช้โมเดลของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก  หรือ EEC เป็นพื้นที่กระบะทรายทดลองในการทำการค้ารับการลงทุนจากต่างประเทศ  ใส่โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ต่าง ๆ เพื่อดึงต่างชาติให้มาลงทุนในไทย มีกฎหมาย กฎระเบียบหรือข้อบังคับที่เอื้อต่อการลงทุนและสร้างความสะดวกสบายให้ บทบาทของจีนจะมีความสำคัญมากขึ้นและไทยเราต้องบาลานซ์ความสัมพันธ์นี้กับฝั่งตะวันตกให้ดีรวมถึงการทํางานร่วมกับอาเซียนและอินเดีย

อุตสาหกรรมที่จะโดดเด่นต่อจากนี้คือเรื่องของอาหารที่ต้องหา champion product ให้เจอ อาจจะเป็นสมุนไพรไทย หรือการนำสินค้าเกษตรมาแปรรูป จับตลาดพรีเมียม สนับสนุนผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่จะกลายเป็นเทรนด์ของโลก เพราะคนหันมาใส่ใจคุณภาพและความสะอาดของอาหารมากขึ้น รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการบำรุงรักษาที่ต้องนำมาเทคโนโลยีมาปรับใช้ ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ได้ พิสูจน์มาแล้วจากการจัดการการระบาดของโควิดที่ทำให้ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

และที่สำคัญที่นายปริญญ์ ได้กล่าวไว้ในช่วงท้ายคือในฐานะที่มาร่วมงานในฐานะตัวแทนจากภาครัฐ เห็นว่า ไทยควรมีสัดส่วนการวิจัยและพัฒนา R&D ต่อ GDP ที่สูงขึ้น มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม หรือ Social Infrastructure ด้านสาธารณสุข การศึกษา และทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับห่วงโซ่อุปทานโลกในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ควบคู่ไปกับการการพัฒนาทางด้านดิจิตัลที่มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่หรือ Digital Transformation จึงจะมีโอกาสในการประสบความสำเร็จได้อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามภายใต้ยุค 4.0 ก็ต้องไม่ลืมความมีเสน่ห์ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยแบบ 0.4 ขนบธรรมเนียมประเพณี นิสัยใจคอที่ทำให้ประเทศไทยน่าอยู่และแตกต่างไปจากชนชาติอื่น ดังนั้นถ้าเราผลักดันให้มาตรฐานทางธรรมมาภิบาลความโปร่งใสรวมถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม เราสามารถร่วมกันพลิกวิกฤติครั้งนี้ให้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับประเทศไทยได้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...