ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
เสนอตั้งกองบัญชาการตำรวจไซเบอร์ ต่อต้านเฟกนิวส์-ภัยคุกคาม
23 เม.ย. 2563

เสนอตั้งกองบัญชาการตำรวจไซเบอร์ ต่อต้านเฟกนิวส์-ภัยคุกคาม ดูแลอาชญากรรมทางเทคโนโลยีให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เผยเฟคนิวส์ว่อน 192 เรื่อง

เมื่อวันที่ 22 เม.ย. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางตรวจเยี่ยมศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พร้อมทั้งมอบนโยบาย ณ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม อาคาร 20 ชั้น 8 บมจ.ทีโอที ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ โดยมีนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และ พล.ต.ท.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ให้การต้อนรับ

พร้อมบรรยายสรุป เกี่ยวกับผลการดำเนินงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม รวมถึงการติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และผลการดำเนินงานของศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกัน

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า กระบวนการทำงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม และศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (PCT) ซึ่งเป็นความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงดิจิทัลฯ กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ซึ่งถือเป็นการทำงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในภาวะวิกฤติที่ทั่วโลกและประเทศไทย ต้องเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เพื่อปกป้องประชาชนและสังคมจากผลกระทบด้านลบของข่าวปลอมในภาวะนี้

เนื่องจากข่าวปลอมในช่วงระยะหลังนี้ หลายข่าวสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนที่อยู่ในภาวะหวั่นวิตกเกี่ยวกับปัญหาด้านเศรษฐกิจและปากท้อง ดังนั้น อีกหนึ่งบทบาทสำคัญของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมในสถานการณ์นี้ คือ การเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโควิด-19 เพื่อให้สังคมได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง ซึ่งต้องขอบคุณกระทรวงดิจิทัลฯ ที่ได้มีนโยบายและดูแล มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยี เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รวมทั้ง บมจ. ทีโอที ที่ได้ดำเนินการตามนโยบายไว้อย่างดีด้วย

ขณะเดียวกันได้มอบนโยบายการปฏิบัติงานแก่ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม โดยขอให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลเฟกนิวส์ ทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และย้ำว่าต้องมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย ต่อผู้ที่กระทำความผิดกรณี Fake News อย่างจริงจังเด็ดขาด เพื่อปกป้องประชาชน เยาวชน สังคม และประเทศชาติให้มีความปลอดภัย ไม่ตื่นตระหนก และเกิดความสงบสุขในบ้านเมืองช่วงวิกฤตโควิด-19 ขณะนี้

“ข่าวปลอมนั้นส่งผลกระทบทางด้านลบ และขณะนี้ก็เป็นประเด็นที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจก็คือ เฟกนิวส์มักถูกเผยแพร่หรือส่งต่อในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อส่วนตัวและสังคมในวงกว้างอย่างมาก และขอฝากงานอีกด้านหนึ่งที่ต้องดำเนินการคือ การเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีที่ปลอดภัยแก่ประชาชนและสังคม รู้จักวิธีตอบโต้ข่าวปลอม มีความรับผิดชอบต่อสังคม”

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า รองนายกรัฐมนตรี ได้มาเยี่ยมติดตามความคืบหน้าศูนย์ต่อต้านข่าวกรอง ซึ่งได้รายงานเรื่องข้อมูลขั้นตอน วิธีติดตามข้อมูลข่าวกรอง โดยเฉพาะข่าวกรองเรื่องไวรัสโควิด ซึ่งได้รายงานที่มาที่ไป กระบวนการติดตาม และการชี้แจงข้อมูลให้ประชาชน ผ่านทาง ช่องทางเฟซบุ๊ก ไลน์กรุ๊ป และเว็บไซต์ซึ่งมีผู้ติดตามกว่าล้านคน

ด้านนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดีอีเอสกล่าวว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานตรวจสอบของศูนย์ฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับกระแสไวรัสโควิด-19 ระหว่างวันที่ 25 ม.ค.-เม.ย. 2563 ทั้งจากการรับแจ้งเบาะแสและติดตามการสนทนาบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 พบจำนวนข้อความที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 2,428,621 ข้อความ มีข้อความข่าวที่เข้าเกณฑ์ที่ต้องดำเนินการ 2,870 ข้อความ คัดกรองแล้วพบว่ามีข่าวที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 821 เรื่อง โดยมีข่าวที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบและเผยแพร่แล้ว 244 เรื่อง แบ่งเป็นข่าวปลอม 192 เรื่อง ข่าวจริง 24 เรื่อง และข่าวบิดเบือน 28 เรื่อง

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...