ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน ย้อนกลับ
ญี่ปุ่นออกนโยบาย กดดันผู้ลี้ภัยนิวเคลียร์ให้กลับ "ฟูกูชิม่า"
23 พ.ค. 2559

          รัฐบาลญี่ปุ่นได้ผลักดันนโยบายใหม่เพื่อเร่งนำผู้อพยพกลับมายังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดในจังหวัดฟูกูชิม่า ซึ่งนักสิ่งแวดล้อมได้พูดถึงการกระทำเช่นนี้ว่าเป็นเรื่องที่ "น่ากังวลอย่างยิ่ง"

          นโยบายใหม่นั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะปกปิดความจริงที่ว่าผู้ที่เข้าไปในบางพื้นที่ของจังหวัดฟูกูชิม่า มีโอกาสได้รับอันตรายด้านสุขภาพ เพราะนั่นคือบริเวณที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิที่ได้รับความเสียหายจากคลื่นสึนามิในเดือนมีนาคม 2011 กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อนของโลกในญี่ปุ่น (FoE Japan) ระบุไว้ดังนี้

          การกระทำเช่นนี้ยังเท่ากับเป็นการปล่อยปละละเลยบรรดา "ผู้ลี้ภัยนิวเคลียร์" โดยใช้ข้ออ้างว่าได้ทำการฟื้นฟูพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ขณะที่ยังไม่มีการชี้แจงถึงสาเหตุในการเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์แต่อย่างใด อีกทั้งยังมีความเสี่ยงสูงที่จะมีสารกัมมันตรังสีตกค้างอยู่ในบริเวณนี้ กลุ่ม FoE ในญี่ปุ่นระบุ

นโยบายใหม่ระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะประกาศยกเลิกคำสั่งห้ามการมาอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่รอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ ภายในเดือนมีนาคมปี 2017 ซึ่งจะส่งผลต่อประชาชนประมาณ 55,000 คน

มีรายงานระบุว่าเพื่อกดดันให้บรรดา "ผู้ลี้ภัยนิวเคลียร์" เหล่านี้เดินทางกลับมา เจ้าหน้าที่ของรัฐจะหยุดให้เงินช่วยเหลือแก่พวกเขาในเดือนมีนาคม 2018 การกระทำเช่นนี้ถูกมองว่าเป็นการลดแรงกดดันทางการเมืองของโตเกียว สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2020

ในปลายเดือนมีนาคม สำนักข่าวเกียวโดได้เผยแพร่รายงานที่ระบุว่า ในช่วงห้าปีที่ผ่านมานี้ ยังคงมีผลกระทบจากภัยพิบัตินิวเคลียร์หลงเหลืออยู่ในบางพื้นที่ของจังหวัดฟูกูชิม่า

ในเมืองฮิโรโนะของฟูกูชิม่า ร้านค้าและอาคารหลายแห่งยังคงว่างเปล่า ชาวเมืองส่วนใหญ่ยังคงลังเลที่จะกลับไปยังบ้านของพวกเขา ซึ่งมีผู้คนเพียงร้อยละ 48 ที่เดินทางกลับไป

ในเมืองโทมิโอกะ ยังมีบางพื้นที่ที่ถูกกำหนดให้เป็น "เขตห้ามเข้า" ร้านค้าปลีกส่วนใหญ่ที่เรียงรายอยู่ตามสองฝั่งถนน ถูกทิ้งร้างและผุพังลงเรื่อยๆ ถุงที่ใส่ดินที่มีสารปนเปื้อนก็ถูกทิ้งไว้เป็นกองอยู่ใกล้ชายฝั่ง

ในเขตที่อยู่อาศัยของเมืองโอคุมะ ถนนที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวนั้นได้รับการซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว ทว่า บ้านเรือนที่ถูกทำลายยังคงอยู่ในสภาพเดิม เสียงที่สามารถได้ยินที่นี่มีเพียงนกร้องและเสียงลมพัดเท่านั้น

นอกจากนี้ ยังมี "เขตห้ามเข้า" อีกหลายแห่งที่อยู่ในหลายเมืองอย่าง โอคุมะ ฟุตาบะ และ มินะมิโซมะ

สมาชิกบางคนของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อนของโลกในญี่ปุ่น (FoE Japan) ได้แสดงความเห็นต่อการดำเนินงานฟื้นฟูดังกล่าวของรัฐบาลญี่ปุ่นว่า “ไม่ได้ปฏิบัติต่อประชาชนในฐานะมนุษย์”

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...