ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ข่าวเด่น / ไฮไลท์ ย้อนกลับ
การใช้พระราชกำหนดโอนงบประมาณรายจ่ายมาใช้ในการป้องกันรักษา “โควิด 19” ก่อนที่จะตราพระราชกำหนดกู้เงิน
30 มี.ค. 2563

การใช้พระราชกำหนดโอนงบประมาณรายจ่ายมาใช้ในการป้องกันรักษา “โควิด 19” ก่อนที่จะตราพระราชกำหนดกู้เงิน ตามกฎหมายวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561 มาตรา 35 ห้ามโอนงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณหนึ่ง จะโอนหรือนำไปใช้สำหรับหน่วยรับงบประมาณอื่นมิได้ เว้นแต่จะมีพระราชบัญญัติให้โอนหรือนำไปใช้ได้

ขอยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมที่มีข้อเสนอจากหลายฝ่ายให้ตัดลดงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของกระทรวงกลาโหม ตั้งไว้เป็นจำนวน 124,400,250,000 บาท จำแนกได้ ดังนี้

กองทัพบก52,103,193,700บาท

กองทัพเรือ 25,065,956,200 บาท

กองทัพอากาศ 29,326,466,300 บาท

กองบัญชาการกองทัพไทย 30,781,960,800 บาท

โดยนำรายการที่ยังไม่ความจำเป็นรีบด่วนในการจ่ายหรือก่อหนี้ผูกพัน เช่นการซื้อเรือดำน้ำ โดยโอนไปให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการป้องกันรักษาโรค “โควิด 19” ได้แก่กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานในกำกับ ที่ในปีงบประมาณ 2563นี้ได้รับเพียง 26,730,737,500 บาท น้อยกว่าหลายเหล่าทัพในกระทรวงกลาโหมเพียงมากกว่ากองทัพเรือเล็กน้อย

ตามวินัยการคลังที่ได้เคยปฎิบัติมาจะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่ายตามมาตรา 35 (1) มาเพิ่มให้กระทรวงสาธารณะสุขและหน่วยงานอื่นๆที่มีหน้าป้องกันรักษาโรคระบาด “โควิด 19” เช่นโรงพยาบาลและคณะแพทย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ เพราะตามมาตรา 35 (1) กฎหมายใช้คำว่า “มีพระราชบัญญัติให้โอน....” แต่ในกรณีที่เกิดวิกฤต “โควิด 19”ที่มีความจำเป็นรีบด่วนขณะนี้จะตราเป็นพระราชกำหนดโอนงบประมาณได้หรือไม่ ?

เพราะการตราเป็นพระราชกำหนดจะเป็นการหลักเลี่ยงไม่อยู่ในข่ายบทบังคับตามรัฐธรรมนูญที่จะต้องใช้เช่นเดียวกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม คือต้องตราเป็นพระราชบัญญัติผ่านการพิจารณาวิเคราะห์ของคณะกรรมาธิการวิสามัญ มีหลักเกณฑ์หลักเกณฑ์การแปรญัตติที่กำหนดไว้กรณีใดทำได้และไม่ได้ และในกรณีที่มีการฝ่าฝืนจะมีความผิดตามมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญ เช่นเพิกถอนสิทธิทางการเมือง ชดใช้เงินจำนวนที่ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ

แต่เมื่อตัวงบประมาณรายจ่ายปี 2563 ได้ตราเป็นพระราชบัญญัติแล้วและการใช้งบประมาณรายจ่ายมีลักษณะเป็นพลวัตรตามความจำเป็น จะเห็นได้ว่าการโอนงบประมาณอาจเกิดขึ้นได้อีกหลายกรณีโดยไม่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ เช่นมีพระราชกฤษฎีรวมหรือโอนส่วนราชการเข้าด้วยกันตาม มาตรา 35 (2) การโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการตาม (3) การโอนงบประมาณรายจ่ายบุคลากรตาม (4) อาจทำได้ตามระเบียบที่ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

นอกจากนี้ยังมีการโอนงบประมาณที่กำหนดไว้ในแผนงานหรือในรายการใดของหน่วยรับงบประมาณให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสำนักงบประมาณและคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 36 ของกฎหมายวิธีการงบประมาณ ทั้งๆที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติงบประมาณที่โดยหลักการจะต้องผ่านการพิจารณาแก้ไขเพิ่มของสภานิติบัญญัติ แต่มาตรานี้ก็ได้บัญญัติมาตั้งแต่ใช้กฎหมายวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 อ้างความคล่องตัวและการเป็นพลวัตรของการบริหารงบประมาณที่มีความเป็นพิเศษให้โอนได้เพียงผู้อำนวยการสำนักงบประมาณอนุญาตให้โอน

พิจาณาโดยนัยนี้ผู้เขียนจึงเห็นว่า คณะรัฐมนตรีใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญตราพระราชกำหนดการโอนงบประมาณปี 2563 เพื่อนำมาใช้ในกรณีจำเป็นรีบด่วนที่เกิดจากโรคระบาด “โควิด 19” อาจทำได้ด้วยเหตุผลพิเศษ ดังกล่าว แต่ไม่อาจนำมาใช้กับการจัดทำพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่จะต้องทำเป็นพระราชบัญญัติเพราะรัฐธรรมนูญบังคับไว้

แต่ที่คณะรัฐมนตรีไม่รีบตราพระราชกำหนดโอนงบประมาณรายจ่ายคงไม่ใช่เหตุเพราะกลัวจะผิดรัฐธรรมนูญ

แต่ที่กลัวเพราะจะต้องไปกระทบงบประมาณรายจ่ายของกระทรวงกลาโหมในเรื่องจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหาร เช่นกรณีเรือดำน้ำมากกว่า

Cr. ปรีชา สุวรรณทัต ศาสตราจารย์พิเศษ

Cr.https://www.isranews.org/article/isranews-article/86999-money-2.html

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...