ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ข่าวเด่น / ไฮไลท์ ย้อนกลับ
หมอรุ่งเรืองโพสต์ บริจาคพลาสม่า ช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19ได้มาก
09 พ.ค. 2563

นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ประธานมูลนิธิสุขภาพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และโฆษกกระทรวงสาธารณสุขได้โพสต์เฟสบุ๊คส์ โครงการสำคัญหนึ่งในช่วงของการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19คือ

โครงการธนาคารเลือดฉุกเฉิน ประสบการณ์ความสำเร็จ ที่ควรนำมาดำเนินการต่อ New normal ...เราจะพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนและทำความดีด้วยหัวใจ”.....ผู้ป่วยหายจากการป่วยโรคโควิด 19 โปรดช่วยบริจาคพลาสมา เพื่อช่วยผู้ป่วยโควิด 19 ให้มีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น ผู้มีสุขภาพแข็งแรงโปรดช่วยบริจาคโลหิต (การบริจาค 1 ครั้งช่วยได้ถึง 3 ชีวิต) “ตอนนี้โลหิตขาดแคลนทั่วประเทศมากๆครับ ช่วยกันนะครับ
• ท่านคือผู้ช่วยชีวิตผู้ป่วย ซึ่งวันหนึ่งอาจเป็นคนที่ท่านรัก ให้รอดชีวิต
• เราจะพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนด้านการแพทย์ในการรักษา “โควิด 19”
1) หมอขอชื่นชม “คุณแมทธิว” ได้มาบริจาคพลาสม่า พร้อมทั้งคุณลิเดีย มาให้กำลังใจ พลาสมาที่ได้จะมีภูมิต้านทานต่อไวรัส โควิด-19 เพื่อนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19
2) พลาสม่า นี้สามารถเก็บไว้ได้ถึง 1 ปี
ผู้ที่หายแล้ว จะมีภูมิต้านทานหรือที่เรียกว่าแอนติบอดีต่อโรค โควิด-19 เปรียบเสมือนเป็นเซรุ่ม ที่ใช้รักษาโรค
3) ในผู้ที่หายแล้ว 1 คนสามารถบริจาคพลาสม่าได้สูงสุดถึง 6 ครั้ง โดยทั่วไปแอนติบอดี้จะค่อยๆลดลงจนถึง 6 เดือนหลังจากที่มีอาการของโรค
4) ที่สำคัญ จากสถานการณ์โควิด 19 ตอนนี้ โลหิตขาดแคลนมากๆ”
“บริจาค 1 ครั้ง (เลือด 1 ถุง) ช่วยได้ 3 ชีวิตครับ
5) หมอได้มาบริจาคโลหิตที่ศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย (หมอบริจาคทุก 3 เดือน ~ 40 ครั้ง) ตั้งแต่เป็นนักศึกษาแพทย์ สงขลานครินทร์ และจะบริจาคต่อไปตลอดชีวิตครับ
6) พี่น้องหมอ พยาบาล และศิษย์สงขลานครินทร์ทุกคณะ ช่วยกันบริจาคโลหิต ตอนนั้นหมอทำ “โครงการธนาคารเลือดฉุกเฉินโดยนักศึกษาแพทย์ ” มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีการบริหารจัดการที่ดี ลงทะเบียนหมู่เลือด ด้วยการรับจิตอาสา และจัดเวรช่วยเชิญชวน และตามคนมาบริจาคโลหิต (น่าจะเป็นแห่งแรกของประเทศไทยหรือของโลก) แทนที่เราจะเก็บเลือดในธนาคารเลือด แต่เรามีเลือดเก็บในร่างกายมนุษย์แทน แก้ปัญหาทั้งเลือดเหลือทิ้ง และขาดแคลนโลหิต รวมถึงแก้ปัญหากรณีฉุกเฉินที่ต้องการเลือด พลาสมา หรือเกร็ดเลือด ได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพ
- หมออยากให้พัฒนาต่อยอดในปัจจุบัน ซึ่งขาดแคลนโลหิต หมอยกตัวอย่าง ถ้าโรงพยาบาลใดต้องการโลหิต 1,000 หน่วยต่อเดือน ท่านเพียงเชิญชวนพี่น้องประชาชน ~ 3,000-5,000 คน มาร่วมเป็นจิตอาสา อาจจัดตั้งเป็นชมรม และมีกิจกรรมอื่นๆเสริม จัดระบบบริหารจัดการให้ดี ลงทะเบียน มีเวรติดตาม และมีผู้บริจาค..ครับ และจะไม่รอจนโลหิตขาด เราจะบริการเชิญชวนมาบริจาคก่อน อำนวยความสะดวก
- โครงการฯ จะแก้ปัญหาหมู่เลือดหายาก การขาดแคลนโลหิต รับมือ สถานการณ์ฉุกเฉินได้ด้วย
- สิ่งที่ได้ทำ คือความภาคภูมิใจ เราทำถูกหลักวิชาการ ด้วยความรอบคอบของการวางแผนและบริหารจัดการที่ดี ด้วยบริบทความเมตตาของคนไทย แต่เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึง (ทั้งหมดภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) ความรู้คู่คุณธรรม และเป็น พลังจิตอาสา ปิดทองหลังพระ เราทำความดีด้วยหัวใจ (สิ่งนี้ ควรเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตชีวิตใหม่: New normal ครับ)
7) หมอขอชื่นชมเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ และทุกๆศูนย์ ทุกคนบริการดีมากๆ ด้วยจิตเมตตา สมเป็น “นักรบชุดขาว” ระบบขณะนี้ที่นี่ดีมากๆ ได้มาตรฐานการป้องกันติดเชื้อโควิด 19
8. การบริจาคเลือด “แทบไม่เจ็บเลยครับ” (เจ้าหน้าที่มืออาชีพ ครับ) หมอรับรองครับ จะกลับบ้านอย่างมีความปิติสุข ที่ได้ช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์
ขอเชิญ ผู้ที่สุขภาพแข็งแรง มาบริจาคโลหิต ความต้องการใช้โลหิตประเทศไทย ~ 2,000 ถึง 3,000 units (ถุง) ต่อวัน แต่ขณะนี้ มีผู้บริจาคบางวัน ~ < 1,500 units (ถุง) ต่อวัน ทำให้เลือดไม่พอ หมอขอเชิญชวนทุกท่านมาบริจาคโลหิต ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ นะครับ ได้ทุกศูนย์ฯ สาขา ในทุกโรงพยาบาลมีทุกจังหวัดครับ
9) อยากให้เกิด “โครงการธนาคารเลือดฉุกเฉิน เราทำความดีด้วยหัวใจ” เกิดขึ้นทุกพื้นที่ ทั่วประเทศ โลหิตมีประโยชน์ มากมายต่อการรักษาพยาบาล เช่น พลาสมา เกร็ดเลือด เม็ดเลือดแดง รวมถึงการนำภูมิคุ้มกันจากโลหิตมารักษาโรค มีประโยชน์ต่อการวิจัยพัฒนาเรื่องต่างๆมากๆ ครับ
ขอเรียนเชิญผู้ที่หายป่วยจาก โควิด 19 มาบริจาคพลาสมา (น้ำเหลือง) นะครับ และขอเรียนเชิญทคนสุขภาพแข็งแรงมาช่วยบริจาคโลหิต หมออยากให้ “โครงการธนาคารเลือดฉุกเฉิน เราทำความดีด้วยหัวใจ” ฟื้นกลับมาอีกครั้งโครงการธนาคารเลือดฉุกเฉิน ประสบการณ์ความสำเร็จ ที่ควรนำมาดำเนินการต่อ New normal ...เราจะพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนและทำความดีด้วยหัวใจ”.....ผู้ป่วยหายจากการป่วยโรคโควิด 19 โปรดช่วยบริจาคพลาสมา เพื่อช่วยผู้ป่วยโควิด 19 ให้มีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น ผู้มีสุขภาพแข็งแรงโปรดช่วยบริจาคโลหิต (การบริจาค 1 ครั้งช่วยได้ถึง 3 ชีวิต) “ตอนนี้โลหิตขาดแคลนทั่วประเทศมากๆครับ ช่วยกันนะครับ
 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...